เลือกเปลี่ยนภาษีเป็นเงินเกษียณ กับ RMF กองทุนเด็ด ธีมลงทุนต่างประเทศ จาก บลจ.กรุงศรี
สรุป 9 ขั้นตอน วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2565 สำหรับมือใหม่ เปิดทำตามได้ทีละขั้นตอน
ยื่นภาษีทำยังไงดี ต้องไปที่ไหน เตรียมเอกสารอะไรบ้าง ? สรุปมาให้ครบๆ
#เงินทองของใกล้ตัว l #ล่าสุดกรมสรรพากรปรับรูปแบบใหม่อีกแล้ว ใครที่มีรายได้ 120,000 บาท/ปีขึ้นไป วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2565
แล้วยังไม่ยื่นภาษี แล้วเกิดคำถามว่า
- ยื่นภาษียังไง
- ต้องยื่นที่ไหน
- ยื่นภาษีต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
- ยื่นภาษีออนไลน์ได้ไหม
วันนี้ FinSpace มาสอน สรุป 9 ขั้นตอน วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2565 สำหรับมือ
กับเว็บของกรมสรรพากรมาฝากกัน สอนทีละขั้นตอนง่าย ๆ เด็กจบใหม่ก็ทำตามได้เลย ..
เอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ต้องใช้ในการยื่นภาษี ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ?
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ
- เป็นเอกสารสรุปว่าเรามีรายได้ทั้งปีเท่าไหร่ และโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่ ซึ่งขอได้จากฝ่ายบุคคลของบริษัทที่เราทำงานด้วย
- หลักฐานแสดงรายการลดหย่อนภาษี
- สำหรับใครที่มีรายการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการซื้อ RMF/SSF
- หนังสือรับรองการซื้อเบี้ยประกันชีวิต
- หนังสือรับรองดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
- หลักฐานการบริจาค
- หนังสือ ล.ย. 03 รับรองการเลี้ยงดูบิดามารดา ฯลฯ
เตรียมให้พร้อมทีเดียวเลย เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษี *ยกเว้นช้อปดีมีคืน ใช้สำหรับลดหย่อนปีหน้านะ
เมื่อเตรียมทุกอย่างครบแล้ว ก็มาเริ่มยื่นภาษีออนไลน์ 2564 ไปพร้อม ๆ กันเลย โดยยื่นได้ตั้งแต่วันนี้ – 8 เม.ย 65
STEP 1 เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th จากนั้นกดยื่นออนไลน์ที่หน้าเว็บ แล้วกดยื่นแบบออนไลน์ หากใครที่ยื่นภาษีออนไลน์ครั้งแรก ให้กด “สมัครสมาชิก” แล้วกรอกข้อมูลตามขั้นตอนไปเรื่อย ๆ
STEP 2 ล็อกอินเข้าสู่ระบบ
ล็อกอินเข้าสู่ระบบ โดยใส่รหัสบัตรประชาชน จากนั้นจะเด้งที่หน้าใส่เบอร์โทรศัพท์ เพื่อยืนยันตัวตนด้วย OPD
หากใครจำรหัสผ่านไม่ได้ให้กดรีเซ็ตที่ “ลืมรหัสผ่าน”
STEP 3 เลือกภาษีเงินได้ที่จะยื่น
เลือกภาษีเงินได้ที่จะยื่น โดยแบ่งเป็น 3 แบบ
– ภ.ง.ด.90 มีรายได้จากเงินเดือนและเงินอื่น ๆ
– ภ.ง.ด.91 มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว
– ภ.ง.ด.94 มีรายได้ตามมาตรา 40(5) – 40(8) ใช้ยื่นกลางปี
โดยหากเป็นพนักงานประจำ มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว หรือมีเงินอื่น ๆ ด้วยให้เลือก “ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91”
STEP 4 ระบบอัปเดตใหม่!! โดยให้ใส่เลขหลังบัตรประชาชน
ระบบอัปเดตใหม่!! โดยให้ใส่เลขหลังบัตรประชาชนเพื่อให้ระบบดึงรายการลดหย่อนภาษีที่เรามีมาให้เองอัตโนมัติ แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล” ได้เลย แต่หากใครไม่ต้องการให้ดึงข้อมูลก็สามารถกด “ไม่ต้องการ” เพื่อใส่ข้อมูลเองได้
ระบบจะแสดงรายการลดหย่อนภาษีให้อัตโนมัติ
โดยระบบจะแสดงรายการลดหย่อนภาษีที่เรามีให้แบบนี้เลย ถือว่าง่าย และสะดวกมาก ๆ จะแก้ไข/เพิ่มรายการภายหลังก็ได้ด้วย ถ้าพร้อมแล้วกด “เริ่มการยื่นแบบ” เพื่อยื่นภาษีกันเลย !
STEP 5 ใส่สถานะ โสด/หม้าย/สมรส
STEP 6 ใส่รายได้ทั้งปี
ใส่รายได้ทั้งปี ตามแหล่งที่มาของรายได้ โดยกดที่ “ระบุข้อมูล”
– หากเป็นพนักงานประจำ ให้กรอกข้อมูลช่องรายได้จากเงินเดือน มาตรา 40(1)
– หากเป็นฟรีแลนซ์ ให้กรอกข้อมูลช่องรายได้จากฟรีแลนซ์, รับจ้างทั่วไป, วิชาชีพอิสระ มาตรา 40(2)
– หากเป็นแม่ค้าออนไลน์ ให้กรอกข้อมูลช่องรายได้จากทรัพย์สิน การทำธุรกิจ มาตรา 40(8)
– หากมีรายได้จากการเทรดคริปโต ให้กรอกข้อมูลช่องรายได้จากการลงทุน มาตรา 40(4)
– หากมีรายได้จากการได้รับมรดก ให้กรอกข้อมูลช่องรายได้จากมรดกหรือได้รับมา มาตรา 40(8)
STEP 7 กรอกรายได้ของพนักงานประจำ ให้ใส่ข้อมูลตามใบ 50 ทวิ
ตัวอย่างการกรอกรายได้ของพนักงานประจำ ให้ใส่ข้อมูลตามใบ 50 ทวิได้เลย โดยใส่ข้อมูลตามหมายเลข 1, 2 และ 3
ตัวอย่างใบ 50 ทวิ
อย่างที่บอกไปตั้งแต่ตอนต้นว่า ต้องใช้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือใบ 50 ทวิ ประกอบการยื่นภาษีด้วย โดยหน้าตาของใบ 50 ทวิจะเป็นด้านล่างนี้ มีข้อมูลที่ต้องใช้ในการยื่นภาษีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ เลขผู้จ่ายเงินได้, รายได้ทั้งปี และภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ซึ่งจะได้รับใบ 50 ทวินี้จากบริษัทที่เราทำงานอยู่ แต่หากใครเปลี่ยนงานระหว่างปี ต้องขอใบทวิ 50 จากทั้งบริษัทเก่า และบริษัทปัจจุบันเลย
STEP 8 กรอก รายการ “ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม”
หากมีรายการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ระบบขึ้นให้อัตโนมัติก็สามารถใส่เพิ่มเข้าไปได้เลย เช่น เงินบริจาค เบี้ยประกัน ฯลฯ ใส่ให้หมดทุกอย่างที่เรามีเพื่อรักษาเงินในบัญชีของเราไว้
STEP 9 ตรวจสอบข้อมูลโดยกดที่ “รายละเอียด”
ในหน้านี้จะบอกว่าเราต้องเสียหรือได้คืนภาษีเท่าไหร่ โดยดูในช่อง “คำนวณภาษี”
จากในตัวอย่าง จะเห็นว่า ต้องเสียภาษีสุทธิอยู่ที่ 1,495 บาท ชำระภายในวันที่ 8 เม.ย.65
นอกจากนี้ หากใครต้องชำระภาษีเพิ่มเติม เรายังสามารถนำเงินภาษีนี้แบ่งไปบริจาคเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองได้อีกด้วย ซึ่ง โดยเป็นการอุดหนุนพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง ปีละไม่เกิน 500 บาท โดยเงินจำนวนนี้เราไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม แต่จะถูกหักจากเงินภาษีที่ต้องส่งให้กับกรมสรรพากร
ตรวจสอบข้อมูลอีกรอบว่าถูกต้องมั้ย จากนั้นกด “ยืนยันการยื่นแบบ” ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย !
สุดท้ายนี้ กรณีต้องจ่ายภาษีเพิ่ม สามารถจ่ายผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
- พร้อมเพย์
- บัตรเครดิต, ATM, Internet Banking, เคาน์เตอร์ธนาคารที่เข้าร่วม
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ไปรษณีย์ไทย
กรณีได้เงินภาษีคืน ให้เราอัปโหลดหลักฐานให้ครบถ้วน และเลือกรับเงินคืนได้ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ หรือ เข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย
เห็นมั้ยว่า การยื่นภาษีนั้นง่ายนิดเดียว คนโสดที่มีรายได้ 120,000 บาทต่อปีขึ้นไป หรือคู่สมรสที่มีรายได้ 220,000 บาทต่อปีขึ้นไป มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีทุกปี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เสียภาษีก็ต้องยื่น ไม่งั้นจะมีความผิดตามกฎหมายฐานหลบเลี่ยงภาษีนะ
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk