FinSpace

ทำความรู้จัก “สูตรผูกมิตร” แค่ทำ 4 ข้อนี้ ก็เป็นเพื่อนกับคนอื่นได้ง่ายๆ

สูตรผูกมิตร

เราเชื่อว่าหลายคนก็อยากมีเพื่อนกันทั้งนั้น สำหรับใครที่เป็นคนเข้าหาคนอื่นง่ายก็สบายหน่อย แต่สำหรับใครที่รู้สึกว่าอึดอัดเวลาต้องเจอคนเยอะๆ หรือไม่มั่นใจเวลาเจอคนใหม่ๆ แต่ก็อยากผูกมิตรกับคนอื่นนะ แค่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร อยากขอแนะนำให้ค่อยๆ ลองใช้ “สูตรผูกมิตร” ที่ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ

สูตรนี้คิดค้นโดยคุณ Jack Schafer อดีตเจ้าหน้าที่ FBI ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์พฤติกรรม เขาเคยต้องผูกมิตรกับผู้ต้องสงสัย และเคยต้องพยายามดึงตัวสายลับต่างชาติให้มอบข้อมูลเขามาแล้ว ดังนั้นสูตรนี้จึงพิสูจน์ได้ระดับหนึ่งว่าน่าจะใช้ได้ผลสำหรับกรณีคนทั่วไปอยากผูกมิตรกับอีกคนละ

Advertisements

? สูตรผูกมิตรประกอบไปด้วย

[ ความใกล้ชิด + ความถี่ + ระยะเวลา + ความเข้มข้น ]

เราไปดูรายละเอียดของแต่ละปัจจัยกันเลย

ความใกล้ชิด

ความใกล้ชิด

อันนี้ก็ชัดเจน ยิ่งเราอยู่ใกล้ใครมากเท่าไร คนคนนั้นก็จะมีอิทธิพลโน้มน้าวเรามากเท่านั้น ตัวอย่างก็อย่างพ่อแม่ที่อยู่กับลูกบ่อยกว่า ลูกย่อมเชื่อฟังมากกว่าพ่อแม่ที่ไม่ค่อยอยู่กับลูก ซึ่งลูกอาจจะไปสนิทกับเพื่อนแทน ความใกล้ชิดจะเกิดขึ้นเมื่อคนอยู่ในสถานที่เดียวกัน

สังเกตสิว่าเวลาเราเจอใครบ่อยๆ ในที่เดิมๆ เช่น ในออฟฟิศ ก็มักจะรู้สึกคุ้นหน้าไปเอง แม้ว่าจะไม่เคยพูดคุยกันเลยด้วยซ้ำ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ความใกล้ชิดได้ผลคือต้องส่งสัญญาณเป็นมิตร ต้องไม่มีบรรยากาศคุกคาม เพราะถ้าอีกฝ่ายรู้สึกว่าอีกคนนึงเป็นอันตราย ก็จะพยายามไม่อยู่ใกล้

ความถี่

ความถี่

นี่คือจำนวนครั้งที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับอีกฝ่าย เช่น สบตากันบ่อยครั้ง ไปกินข้าวด้วยกันบ่อย ๆ หรือพูดคุยด้วยกันบ่อย ๆ ยิ่งถี่ก็จะยิ่งคุ้นชิน แต่ความถี่อาจจะผกผันกับปัจจัยต่อไปนั่นก็คือ

ระยะเวลา

ระยะเวลา

นี่คือระยะเวลาที่เราใช้กับอีกฝ่ายในกิจกรรมๆ หนึ่ง ซึ่งยิ่งนานเท่าไรก็ยิ่งกระชับมิตรได้ดีขึ้น แต่ที่บอกว่ามันผกผันกับความถี่ก็เป็นเพราะโดยส่วนใหญ่ความสัมพันธ์ของเราจะเป็นแบบนั้น

ยกตัวอย่าง เพื่อนที่เราไม่ได้เจอบ่อยๆ เราก็มักจะใช้เวลาพูดคุยกินข้าวด้วยนานกว่าเพื่อนที่เจอกันทุกวันซึ่งคงไม่เม้าท์มอยนานขนาดนั้น แต่ความผกผักนี้จะไม่เกิดขึ้นสำหรับคู่รักข้าวใหม่ปลามัน ที่มักจะอยากอยู่ด้วยกันตลอดเวลา

ความเข้มข้น

ความเข้มข้น

สิ่งนี้คือการที่เราใช้คำพูดหรือส่งภาษากายที่ทำให้อีกฝ่ายพอใจ หรือสงสัยใคร่รู้ อันนี้แอบอธิบายยากเหมือนกัน แต่สำหรับเราเราคิดว่ามันคือบรรยากาศของการปฏิสัมพันธ์กันซึ่งทำให้มิตรภาพกระชับแน่นขึ้นไปอีก อาจจะเป็นช่วงเวลาที่คู่แต่งงานได้ไปออกเดตกันบ้าง หรือ เพื่อนร่วมงานที่ได้นั่งจับเข่าคุยกันเรื่องชีวิตส่วนตัวบ้าง

Advertisements

ความสัมพันธ์เนี่ยอาจจะมีทุกอย่างยกเว้นความเข้มข้นก็ได้ ซึ่งนั่นก็คือความสัมพันธ์ที่จืดชืดไปแล้ว ความเข้มข้นจึงอาจจะเปรียบเหมือนสีสันให้ความสัมพันธ์

สรุป

สรุปสูตรผูกมิตร

ปัจจัย 4 อย่างนี้ เราสามารถลองปรับและลองประเมินดู เพื่อวิเคราะห์ว่าความสัมพันธ์ของเรากับคนอื่นๆ นั้นเป็นอย่างไร หากอยากพัฒนาความสัมพันธ์ให้แน่นขึ้น ก็ลองดูว่าจะเพิ่มตัวแปรไหนได้บ้าง

เช่น อาจจะคุยกันบ่อยขึ้น ไปเที่ยวด้วยกันบ่อยขึ้น ขณะเดียวกัน หากไม่อยากยุ่งกับใคร ก็ค่อยๆ ลดทอนตัวแปรพวกนี้ออกไป เช่น คุยน้อยลง ไม่ไปไหนด้วยกัน

ถามว่า หากใช้สูตรนี้แล้วอีกฝ่ายจะรู้หรือไม่ว่าเรากำลังพยายามตีสนิท คำตอบคือ หากเราทำตัวเนียน ๆ ก็จะเป็นเรื่องยาก เพราะสมองตีความพฤติกรรมเหล่านี้ว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ในการผูกมิตร เป็นเรื่องยากที่อีกฝ่ายจะรู้ตัวว่ามีอะไรผิดปกติ เพราะท่าทางเหล่านั้นถือว่าเป็นปกตินั่นเอง ถ้าเราส่งสัญญาณเป็นศัตรูนี่สิ จะถือว่าไม่ปกติแล้วละ!

#Tanhnanchya

Advertisements

*เนื้อหาอ้างอิงจากหนังสือ The Like Switch: An Ex-FBI Agent’s Guide to Influencing, Attracting, and Winning People Over

อ่านเนื้อหาสรุปหนังสือเต็มๆ ได้ที่ https://medium.com/@tanh.n/f07121045938


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb

อ่านอะไรต่อดี…

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements