FinSpace

รู้จักกฎ 4% ที่ทำให้เราเกษียณอย่างสุขสบาย

403405534 1063609854840983 1837821572955971287 n

กฎ 4% ถูกพัฒนาโดยคุณ William Bengen ที่เขาได้ทำวิจัยในปี 1990s โดยศึกษาจากข้อมูลในอดีตของผลตอบแทนในหุ้นแล้วก็พันธบัตร โดยแบ่งพอร์ตเป็นหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการตั้งอัตราการถอนจากพอร์ต (Withdrawal rate) หลักๆ คือ อยากรู้ว่าต้องถอนได้เท่าไหร่ เพื่อให้เงินเพียงพอใช้หลังเกษียณ

411188678 1101173647719714 5330071718949442014 n

คุณ William เขาก็ได้จัดพอร์ตมาหลายรูปแบบทั้ง

Advertisements

100% ในหุ้น

75% ในหุ้น 25% ใน Bonds

50% ในหุ้น 50% ใน Bonds

25% ในหุ้น 75% ใน Bonds

100% ในบอนด์

จากนั้นเขาก็เอา Withdrawal rate หรืออัตราการถอนแล้วตั้งแต่ 3%-12% โดยอยากจะให้เหลือใช้ 30 ปี

หลังจากนั้นเขาค้นพบว่า 4% นี่แหละที่จะอยู่รอด แต่ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่ผลตอบแทน 7-8% ต่อปีเลย

โดยเงินที่เราต้องมี เราสามารถคำนวณได้ดังนี้

อัตราค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 x 25 = เงินในพอร์ตที่ต้องมี (เพื่อเพียงพอจะถอน 4% ต่อปี)

คำนวณง่ายๆ คือ สมมติมีค่าใช้จ่าย 30,000 บาท ต่อเดือน ก็ 30,000 x 12 x 25 = 9,000,000 บาท

**แนะนำให้เป็นอัตราค่าใช้จ่ายปรับด้วยเงินเฟ้อ

หลักการของ 4% คือ เราจะถอน 4% ของ 9,000,000 บาท ทุกปีโดยต้องปรับเงินเฟ้อด้วย

ปีแรก 4% x 9,000,000 บาท = 360,000 บาท โดยพอร์ตโตด้วยเป็น 9,244,800 บาท (กำไร 604,800 ด้วยผลตอบแทน 7% หักด้วย 360,000 บาท ที่ต้องถอน

ปีที่สอง (4% x 9,244,800 บาท) x เงินเฟ้อ 3% = 370,800 บาท

ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ

ความเสี่ยงคือ

1) ผลตอบแทนจะเป็นไปได้ไหม ด้วยวัยเกษียณแต่ต้องลงทุนในเสี่ยงสูง กว่าอัตราการถอน

Advertisements

2) ต้องเคร่งครัดในการถอนเงินมาก ถ้าถอนเกินอาจจะมีปัญหาได้

**ไม่มีอะไรเป็นสูตรสำเร็จ จริงๆ อันนี้ก็สามารถดัดแปลงได้ โดยถอนน้อยหรือมากกกว่า 4% หรือเก็บเงินมากกว่านี้ ถ้ายังไงสามารถเข้าไปลองเล่นในเว็บที่ให้ได้ครับ**

แถม!! 🥳

การคำนวณเงินที่ต้องมีหลังเกษียณ สามารถคำนวณได้หลายแบบ

เว็บนี้เป็นอีกหนึ่งเว็บที่มีประโยชน์ ลองใช้ดูได้

https://www.mycalculators.com/ca/retcalc2m.html

เราสามารถพิมพ์ได้เลยว่าอีกกี่ปีถึงจะเกษียณ

แล้วช่วงตอนเกษียณเป็นกี่ปี อัตราเงินเฟ้อ อัตราผลตอบแทน เป็นเท่าไหร่

สำหรับส่วนตัวคิดว่า ควรใส่เงินเฟ้อประมาณ 2% ขณะที่ผลตอบแทนประมาณ 5% โดย Withdrawal rate ก็ใส่ 4% (Inflation adjusted แล้ว) แล้วลองดูว่าเงินพอไหม

เพื่อนๆ สามารถลองใช้กันได้ เพื่อลองหาเลขเงินที่เราแบบต้องมีให้พอตอนเกษียณ

อย่างน้อยเราจะเห็นภาพมากขึ้น ด้วยตัวเลข จะทำให้เราไปถึงเป้าได้ดีกว่า

Advertisements

——————————————–

ติดตาม #FinSpace เพิ่มเติมได้ที่

Instagram : https://bit.ly/3N3Yc5X

TikTok : https://bit.ly/3pAovpq

Twitter : https://bit.ly/3Cp68Ll

Blockdit : https://bit.ly/3VM3HJr

Website : http://bit.ly/2lxvlhY


Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements