เลือกเปลี่ยนภาษีเป็นเงินเกษียณ กับ RMF กองทุนเด็ด ธีมลงทุนต่างประเทศ จาก บลจ.กรุงศรี
7 คำแนะนำเกี่ยวกับการให้และรับ FEEDBACK
จากหนังสือคนเก่งให้ feedback ที่แตกต่าง
ผลงานจาก สุดยอดโค้ชเกาหลีแห่งปี”ที่ CEO บริษัท Lotte แนะนำให้อ่าน
FEEDBACK เครื่องมือทรงพลังที่คนมากมายยังไม่กล้าใช้ศาสตร์และศิลป์ของการให้และรับเสียงสะท้อนป้อนกลับเพื่อดึงศักยภาพ
มหาศาลที่ซุกซ่อนในตัวคุณ ทีม องค์กร หรือใครก็ตามให้ออกมาโลดแล่น
1. Feedback is a gift
วัตถุประสงค์อย่างหนึ่งของฟีดแบ็ก คือ
การบอกให้ผู้รับฟีดแบ็กรับรู้ว่า
ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเอง
.
ฟีดแบ็กที่ให้ข้อมูลเหมาะสม
และให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน
ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความหวังใหม่ๆ
.
ฟีดแบ็กจึงเหมือนกับ
โอกาสในการเติบโต
ที่เรามอบให้กับคนในทีมของเรา
ดังนั้น อย่ากลัวที่จะให้ฟีดแบ็ก
แต่ให้คิดว่า
“ ฟีดแบ็กคือของขวัญ”
ที่จะทำให้คนคนนั้นเติบโตได้อย่างยั่งยืน
2. Feedback ต้องเป็นรูปธรรม
ฟีดแบ็กจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ
มีการให้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรม
ต้องระบุอย่างเฉพาะเจาะจงไปเลยว่าต้องปรับแก้อะไร ตรงไหน
.
เพราะหากไม่ชัดเจนหรือจับต้องไม่ได้
อาจจะทำให้ผู้รับ FB ไม่เข้าใจ และไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ดังนี้น ต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องปรับปรุงอะไร
จึงจะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
3. ไม่โฟกัสที่ตัวบุคคล
เพราะการให้ FB มักก่อให้เกิดการต่อต้าน
และหากยิ่งพุ่งเป้าไปที่ตัวบุคคล
จะทำให้เกิดการต่อไปกันมากขึ้น
.
โฟกัสที่พฤติกรรมมากกว่าที่ตัวบุคคล
จะช่วยลดทัศนคติที่ต่อต้านลงได้
4. ต้องให้ Feedback ทันที
คนเรามักขี้ลืม
.
เมื่อเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ต้องให้ฟีดแบ็กทันที
.
และหากปล่อยให้นานไป
เหตุการณ์เหล่านั้นจะถูกบิดเบือน
จากความเป็นจริงได้
.
การให้ FB ทันที เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
เพราะเราจะยังจำได้ถึงอารมและความรู้สึกร่วม
กับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า
5. Feedback ต้องยืดหยุ่น
การให้ฟีดแบ็กที่มีประสิทธิภาพ
คือการให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
.
บางครั้งผู้รับฟีดแบ็ก
อาจจะอยู่ในช่วงที่อารมณ์หงุดหงิด หรืออ่อนไหวง่าย
ก็ควรปล่อยให้เวลาผ่านไปก่อน ไม่ควรให้ FB ทันที
.
เพราะอาจจะทำให้ มีแต่เสียกับเสียเท่านั้น
6. Feedback ท้ังบวกและลบ
ควรให้ฟีดแบ็กทั้งบวกและลบ
เพราะหากให้ฟีดแบ็กแต่ด้านบวกอย่างเดียว
อาจทำให้รู้สึกเย่อหยิ่งในความสามารถของตัวเอง
.
และหากให้แต่ฟีดแบ็กด้านลบ
พวกเขาอาจคิดว่ากำลังถูกวิจารณ์
จนรู้สึกห่อเหี่ยวจนไม่กล้าลองทำพฤติกรรมใหม่ๆ
7. Feedback ไม่ใช่การวิจารณ์
ฟีดแบ็กต้องไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์
เพราะวัตถุประสงค์สูงสุดของฟีดแบ็ก
คือการพัฒนา พนักงานให้เติบโต
แต่บางครั้ง กลับถูกใช้บังหน้าในการวิพากษ์วิจารณ์
.
ซึ่งคนที่ทำแบบนี้ก็เหมือนกับการประจานตัวเอง
ที่เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่น่าเชื่อถือ
ไม่สามารถช่วยให้ผู้อื่นพัฒนา
.
แล้วยังมีหน้า มาซ้ำเติมพวกเขาอีก
.
ฉะนั้น เราต้องระวังว่า เรากำลังวิพากวิจาร หรือต้องการให้เขาพัฒนากันแน่
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT: https://bit.ly/3J8LS1W