FinSpace

หนังสือแด่…ผู้ที่ต้องการไฟแห่งความสำเร็จ

cover 1200x628 1

#FSSpecialcolumnists x วันทำงานของม่อน l หนังสือแด่…ผู้ที่ต้องการไฟแห่งความสำเร็จ จากหนังสือ คนที่ทำอะไรก็สำเร็จทำอะไร มิทานิ จุน เขียน สรุปโดย….วันทำงานของม่อน

ถ้าคุณมีความฝันแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นทำอย่างไร…
ถ้าคุณเป็นคนที่มักจะทำอะไรครึ่ง ๆ กลาง ๆ…
ถ้าคุณชอบถอดใจกลางทางเวลาทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่คิด…
พบกับเทคนิคทางจิตวิทยาที่จะช่วยให้คุณ
ทำสิ่งต่าง ๆ ที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จเสร็จสิ้น
ไล่ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การลงมือทำ
ไปจนถึงการต่อสู้กับจิตใจของตัวเอง
ม่อนคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยจุดไฟ
ให้เพื่อนๆ เริ่มต้นเดินตามความฝันได้อีกครั้งหนึ่ง

Advertisements

image 1

เพราะเมื่อสร้างนิสัยในการบรรลุเป้าหมายแล้ว
คุณจะรู้สึกตื่นเต้นเมื่อคิดว่า
“ที่จริงเราทำเรื่องที่สุดยอดยิ่งกว่านี้ได้ไม่ใช่เหรอ”

การตั้งเป้าหมายต่อไป
พร้อมกับจินตนาการถึงตัวเองที่เติบโตขึ้น
จะกลายเป็นความสนุก
และมีความสุขในทุกวัน

image 2

3 ขั้นตอนที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อทำสำเร็จได้ครั้งหนึ่ง
คุณจะอยากบรรลุเป้าหมายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

ขั้นที่ 1 : ตั้งเป้าหมาย – ตั้งเป้าหมายที่สามารถที่สามารถประสบความสำเร็จได้
ให้คิดบวกว่าเราสามารถทำได้ทุกเรื่อง (จะได้ไม่ตั้งเป้าหมายง่ายเกินไป)

ขั้นที่ 2: วางแผนลงมือทำ – วางแผนลงมือทำที่สามารถประสบความสำเร็จได้
ให้คิดลบ วางแผนให้ละเอียดรอบคอบ คำนึงถึงเรื่องที่ไม่คาดคิด มี 2 วิธีคือ
– Milestone หรือเป้าหมายย่อย (น้ำหนักลด 1โลทุกเดือน)
– Breakdown หรือแจกแจงรายละเอียด (คุมอาหาร +ออกกำลังกายทุกวัน)
สิ่งสำคัญคือการคิดลบถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และหาแผนสำรองไว้
ให้ “คิดจนกว่าจะมองทะลุ”

ขั้นที่ 3 : ลงมือทำตามแผน – ลงมือทำจนกว่าจะสำเร็จ
ให้คิดบวก ลงมือทำโดยเชื่อว่าสำเร็จอย่างแน่นอน “ต้องทำได้อย่างแน่นอน”
– คุณไม่สามารถควบคุมผลลัพธ์แต่สามารถควบคุมการกระทำได้
ดั้งนั้น มุ่งเน้นที่การกระทำ เริ่มจากเรื่องที่ทำได้และแน่นอนก่อน

image 3

คนสำเร็จมักจะอยู่ใน Stretch zone หรือพื้นที่ยืดตัว **
แต่คนทั่วไปมักอยู่ใน Comfort zone หรือพื้นที่คุ้นชิน
หากไปไกลกว่าพื้นที่ยืดตัว จะเรียกว่า Panic zone หรือพื้นที่ตื่นตระหนก

เราจะทำงานได้เพิ่มขึ้นและมีศักยภาพเพิ่มขึ้นเมื่ออยู่ในพื้นที่ยืดตัว
แต่สิ่งที่เคยเป็นเรื่องยากในตอนแรกจะกลายเป็นเรื่องปกติเมื่อคุ้นชินกับมัน

เราส่วนใหญ่ต้องการเข้าไปในพื้นที่ยืดตัว
แต่มักจะทำไม่ได้ เพราะ “อคติความอยากรักษาสภาพเดิม”
(Status Quo Bias) พฤติกรรมที่มนุษย์หวาดหวั่นต่อการเปลี่ยนแปล
งจึงไม่ยอมลงมือทำทั้งที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นประโยชน์ก็ตาม

เรามักจะหวงแหนสิ่งที่อยู่ในมือกว่ามาก สิ่งที่จะได้รับหรือสูญเสีย (หน้า 48)
การไม่บรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี
เพราะคนที่บรรลุเป้าหมายสูงๆยิ่งต้องเคยล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน
ผู้ที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านี้มักใช้ชีวิตทุกวันในพื้นที่ยืดตัวและตั้งเป้าหมายไว้สูงๆ
โดยไม่หวาดหวั่นต่อความล้มเหลว

ประกาศเป้าหมายไปแล้ว ทำไม่สำเร็จ จะต้องรู้สึกอาย
แต่ต่อให้ไม่บรรลุเป้าหมาย สิ่งที่รออยู่ก็มีแต่เรื่องดีๆ

ดังนั้น เวลาจะทำอะไรใหม่ๆ ให้เราคิดแค่ว่า
ไม่เสียใจในสิ่งที่ตัดสินใจทำลงไปแล้ว

ช่วงเวลาที่สนุกที่สุดคือตอนคิดเป้าหมาย
เพราะคนที่พยายามพัฒนาตัวเองในพื้นที่ยืดตัวอยู่เป็นประจำรู้สึกว่า
“บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว ก็จะละทิ้งความสนใจต่อเป้าหมายนั้น
แล้วตั้งเป้าหมายใหม่พร้อมทั้งกำหนดกรอบเวลาให้ท้าทายขึ้น”

“หากพยายามอย่างเต็มที่
ครั้งหน้าก็จะประสบความสำเร็จเหมือนกัน”
ทำให้ช่วงเวลาที่วางแผนเป็นช่วงเวลาที่สนุกมาก

image 4

เอาเรื่องที่อยากลองทำดูมาเป็นเป้าหมาย
กว่า 80% ของคนที่ไม่เก่งเรื่องการบรรลุเป้าหมาย
มักจะมีปัญหากับการเริ่มต้นตั้งเป้าหมาย

เรามักจะพยายามเต็มที่กับเรื่องที่อยากทำจริง
และหากเป้าหมายไม่ท้าทาย
ก็อาจจะทำให้เราไม่ได้ออกแรงพยายามกับมันจริงๆ

ดังนั้น จึงควรตั้งเป้าหมายสูงๆ
ในระดับให้ตัวเองรู้สึกตื่นเต้นให้ได้
นี่คือเคล็ดลับในการตั้งเป้าหมายให้ประสบความสำเร็จ

สิ่งที่ต้องระวังคือความคิดฉุดรั้ง
จากอคติความอยากรักษาสภาพเดิม
ที่มักจะมีสาเหตุมาจาก
ความล้มเหลวและความผิดหวังในอดีต
และการเปรียบเทียบกับคนอื่น

ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ
การไม่คิดว่า ”ต้องทำอย่างไร”
ในตอนที่ตั้งเป้าหมาย

ตั้งเป้าหมายโดยไม่คิดถึงข้อจำกัดที่เรามี
เพราะเวลาที่ตั้งเป้าหมาย สมองจะให้ความสำคัญกับ
เรื่องที่เราทำได้ ไม่ใช่เรื่องที่เราอยากทำ

คนที่ทำเรื่องใหม่ได้สำเร็จคือ
คนที่เชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถทำมันได้

เนื่องจากโอกาสความสำเร็จจะเพิ่มขึ้น
ตามความน่าตื่นเต้นของเป้าหมาย
ดังนั้น อันดับแรกขอให้ลองตั้งเป้าหมาย
ไว้สูงสุดเท่าที่จะทำได้ก่อน

Advertisements
image 5

การตั้งเป้าหมายให้สำเร็จแบบก้าวกระโดด
โดยปรึกษาคนที่ทำสำเร็จพร้อมกับตั้งเป้าหมายเพราะ

1. ตื่นเต้นและคิดบวก
(มีคนคอยรับฟัง ได้รับความรู้สึกร่วม มีแรงจูงใจเพิ่มขึ้น)

2. ตระหนักถึงความเป็นไปได้ของตัวเอง
(แผนภาพการรับรู้ตัวตน “หน้าต่างโจฮารี”
ที่แบ่งเป็นสิ่งที่ตัวและผู้อื่น รู้และไม่รู้)
สิ่งสำคัญคือ สิ่งที่คนอื่นรู้แต่ตัวเองไม่รู้นี่แหละ
เพราะเรามักจะไม่เข้าใจเรื่องของตัวเองมากที่สุด
การที่มีคนอื่นมากบอก
ทำให้เรารู้สึกคล้อยตามได้ง่ายกว่าการบอกตัวเอง

3. ได้รับความร่วมมือในการบรรลุเป้าหมาย
เพราะเมื่อมีคนมาขอความช่วยเหลือ
สมองจะรู้สึกยินดีและพยายามตอบสนอง
ต่อความคาดหวังของอีกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหน

แต่ต้องเลือกคนให้ถูกว่าจะปรึกษาใคร คือ
เคยสำเร็จสูงๆต่อเนื่อง
เคยสำเร็จในเรื่องเดียวกับเป้าหมายของเรา

image 6

อย่าเอาความฝันมาปนกับเป้าหมาย
เพราะความฝันมักจะลงเอยด้วย
การเป็นความฝันต่อไป
แต่เป้าหมายจะมีโอกาสเป็นจริงได้
หากมีการวางแผนและลงมือทำ

โดยเป้าหมายจะต้องพิสูจน์ได้(วัดผลได้)
และ กำหนดกรอบเวลา
เพราะมนุษย์จะไม่ลงมือทำหากไม่มีกรอบเวลา
โดยจะต้องกำหนดเวลาให้สั้นที่สุด
เท่าที่เราจะประสบความสำเร็จได้
ให้มีความกดดัน สมองตื่นตัวและมีสมาธิมากขึ้น

ต้องหลีกเลี่ยงการกำหนดกรอบเวลาที่นานเกินไป
จะทำให้ไม่สามารถจินตนาการถึงแผนในแต่ละวันได้

กำหนด “วันของสัปดาห์” ลงในกรอบเวลา
หรือเชื่อมโยงกับวันพิเศษ
ช่วยเพิ่มระดับความเอาจริงเอาจังได้มากขึ้น

เขียนรายชื่อคนที่จะร่วมยินดีกับเราในเป้าหมาย
พร้อมกับเหตุผลว่า
ทำไมจึงต้องการให้คนเหล่านั้นยินดีกับเรา
ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้มีโอกาสสำเร็จมากกว่า
การยินดีกับตัวเองเพียงคนเดียว

– การทำเพื่อใครสักคน ทำให้มีความพยายามมากขึ้น
– เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม จะได้รับความร่วมมือมากขึ้น

เป้าหมายสูงเป็นเรื่องดี
แต่ถ้าสูงเกินเอื้อมก็จะทำให้หมดกำลังใจได้
จะทำให้เราหลุดออกจากพื้นที่ยืดตัวไปสู่พื้นที่ตื่นตระหนก
และเหลือไว้แต่ความรู้สึกพ่ายแพ้

ดังนั้นควรตั้งระดับความยากให้อยู่ในระดับประมาณ 80%

image 7

หากมองเป้าหมายแล้วคิดย้อนศรกลับไป สิ่งที่จะเห็นคือความสำเร็จ
การวางแผนลงมือทำโดยการคิดย้อนกลับ

1. Milestone (แบ่งตามเวลา)
– จะแสดงให้เห็นพัฒนาการเป็นขั้น ๆ แบ่งกระบวนการออกเป็นขั้น
– ทำสำเร็จที่ละขั้น ความมุ่งมั่นก็เพิ่มขึ้น
2. Breakdown(แบ่งตามประเภท-กลุ่ม)
– นำเป้าหมายมาแจกแจงรายละเอียด

สิ่งสำคัญในการวางแผนลงมือทำ
1. กฎการวางแผน คือ “การทำเรื่องที่ถ้าทำก็ทำได้แน่นอน”
ดังนั้นจึงควรโฟกัสที่การกระทำไม่ใช่ผลลัพธ์
โดยการวางแผนระยะสั้น ทั้งวันนี้และพรุ่งนี้ต้องเป็นแผนที่มีความแม่นจำสูง

2. ควรวางแผนเผื่อเรื่องที่ไม่ได้คาดคิดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอด
หรือการคิดลบ (ถ้ารวมกับขาลง มักจะมีประมาณ 20%) แล้ววางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ

3. ตัดสินใจเรื่องที่จะไม่ทำอะไร เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางแผนไว้
เพราะเรามักจะพิจารณาว่า อยากทำ หรือไม่อยากทำมากกว่าความสำคัญตามที่ควรจะเป็น
โดยเปลี่ยนสิ่งที่จะไม่ทำให้เป็นประโยคบอกเล่าเพื่อลดการต่อต้าน เช่น ไม่นอนดึก—>จะนอนก่อน 4 ทุ่ม จะช่วยให้เรารู้สึกว่ากำลังก้าวไปสู่เป้าหมาย ต้องตัดส่วนที่ไม่สำคัญกับเป้าหมายออกไปก่อน

4. ประกาศเป้าหมาย
– ประโยชน์จากจิตใต้สำนึก จนได้ไอเดียดีๆผุดขึ้นมา
– สร้างแรงกดดันแง่บวกให้กับตัวเอง
– มีคนคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจ

image 8

เมื่อตัดสินใจแล้วที่เหลือก็แค่ทำให้สำเร็จ
– เชื่อมั่นว่าจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
– เคล็ดลับคือเลือกทำตามแผนที่ง่ายที่สุดก่อน โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1. วิธีทำชัดเจน
2. ลงมือทำได้แน่นอน
3. ไม่มีทางล้มเหลว
– ควรลงมือทำตามแผนให้ได้อย่างน้อย 1สัปดาห์
เพราะมนุษย์จะเข้าสู่ 4 กระบวนการเปลี่ยนแปลง
วันที่ 1 ตื่นเต้น
วันที่ 3 เครียด
วันที่ 7 เคยชิน
วันที่ 14 กลายเป็นนิสัย
หากไม่มั่นใจว่าเราจะทำได้
ให้ประกาศสิ่งที่เราทำตามแผนการไปแล้ว
ให้กับคนรอบตัวรับทราบด้วย

เราจะรู้สึกเปลี่ยนจาก เครียดกับเรื่องที่ต้องทำในวันนี้
เป็นเครียดกับเรื่องที่ไม่ได้ทำในวันนี้

– ปริมาณสำคัญกว่าคุณภาพ
เพราะวิธีการรับมือขณะที่ล้มเหลว
ได้ดีที่สุดคือการลงมือทำให้มากขึ้น

เพราะด้านตรงข้ามของความสำเร็จ
ไม่ใช่ความล้มเหลว
แต่คือการไม่ลงมือทำ

ให้ลงมือทำ พร้อมกับการวางแผน (PDCA)
เพื่อจะได้รู้ว่าจะต้องปรับแผนอะไรบ้าง
ให้ได้สามารถลงมือทำได้สำเร็จตามแผน

เราอาจคิดว่าคนที่ทำสำเร็จ
คือคนที่วางแผนเก่ง (P)
แต่จริง ๆ คือคนที่ลงมือทำ (D) และปรับปรุง (A) อยู่เสมอต่างหาก

ถ้าวันนี้เราไม่ลงมือทำ เราจะเสียใจภายหลังไหม
แม้ผลลัพธ์จะเลวร้าย
แต่ถ้ามันเกิดจากการลงมือทำเต็มที่แล้วก็จะไม่เสียใจภายหลัง

– ตรวจสอบจุดที่ต้องปรับปรุงโดยเปลี่ยนผลลัพธ์ให้เป็นตัวเลข
หาจุดที่เป็นปัญหาแล้วหาแนวทางแก้ไขปัญหา
– ไม่สามารถลงมือทำได้ตามแผน แก้ไขได้ 2 ทางคือ
1. ปรับตัวเลขในเป้าหมาย
2. ปรับกรอบเวลา

– ไม่มีแรงจูงใจ
1. เป้าหมายไม่น่าตื่นเต้น ให้ตั้งให้สูงขึ้น หรือตั้งร่วมกับคนที่เคยทำสำเร็จ
2. ไม่เอาจริงเอาจังกับเป้าหมาย
ให้ประกาศเป้าหมายกับคนจำนวนมาก,นึกถึงคนที่จะร่วมยินดี,
เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพในการลงมือทำ

– กังวลว่าจะทำไม่ได้
1. เป้าหมายห่างไกลจนมองไม่ให้เส้นชัย ให้ตั้งเป้าหมายให้ใกล้ตัว เอื้อมถึง
2. เป้าสูงเกินไป ให้ปรับตัวเลขหรือกรอบเวลา

– เวลาไม่พอ
1. มีเรื่องที่ต้องทำมากเกินไป ให้เพิ่มเรื่องที่จะไม่ทำ
2. เวลาที่วางแผนไว้ไม่พอ ให้ปรับเแผนโดยการเพิ่มเวลา

-ให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นก่อน
1. ไม่ได้จริงจังกับเป้าหมาย ทบทวนว่าทำไมถึงต้องทำ
2. ลองทำเรื่องที่ตั้งใจว่าจะไม่ทำ มีมาตรการป้องกันเรื่องที่จะไม่ทำ

image 9

วิธีสร้างสมองที่บรรลุเป้าหมายที่ใช้ได้ตลอดชีวิต
– เพิ่มพลังในการบรรลุเป้าหมาย

1. ความเร็วในการลงมือทำ พอทำ ๆ ไปแล้ว ความกระตือรือร้นจะตามมาเอง
คนรอบข้างจะมาร่วมยินดี ทำให้รู้สึกถึงการเติบโตของตัวเอง
ดังนั้น ขอให้หันมาเพิ่มความเร็วของการลงมือทำของงานที่อยู่ตรงหน้าให้เร็วขึ้น 3 เท่า
เพื่อลดเวลาในการคิด เปลี่ยนเป็นความกระตือรือร้นแทน
.
2. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ช่วยเปลี่ยนความต้องการเป็นพลัง
เห็นผลของคนที่จะมาร่วมยินดีกับเป้าหมายของเรา
.
โดยความต้องการของมนุษย์มี 2 อย่างคือ ประโยชน์ส่วนตัวและ ประโยชน์ส่วนรวม
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์อยู่รอดมาได้ คือ การช่วยเหลือผู้อื่น
ลองทำสิ่งที่จะทำให้คนอื่นรู้สึกยินดี จะช่วยสร้างความกระตือรือร้นให้เราได้
.
3. เพื่อนและสภาพแวดล้อมช่วยให้พลัง
ดังนั้นจึงควรหาเพื่อนที่มีเป้าหมายเดียวกัน
และคอยกระตุ้นซึ่งกันและกัน
.
วิธีคิดของคนที่บรรลุเป้าหมาย
จะมีสมองที่เรียกว่า สมองที่บรรลุเป้าหมาย
โดยเมื่ออยู่ในพื้นที่ยืดตัวจะเกิดความเครียด
แต่สมองจะเปลี่ยนความเครียดเป็นความสนุกสนานได้
จึงทำให้คนเหล่านี้มักจะเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรรค์
.
4. ต้องเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้เป็นคนที่บรรลุเป้าหมาย
เพราะเรามักจะไม่ทำอะไรที่ขัดกับภาพลักษณ์ของเรา
โดยภาพลักษณ์จะส่งผลต่อพลังในการลงมือทำตามสิ่งที่คิดโดยไม่รู้ตัว
.
การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์
4.1 เข้าใจตัวเองในมุมมองของคนทั่วไป
สามารถรู้เท่าทันความคิด
ให้คิดว่า เราทำได้ แต่แค่ยังไม่ได้ลองลงมือทำ
.
4.2 ค้นหาสาเหตุที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
เช่น กลัวล้มเหลว กลัวเหนื่อย
.
4.3 โน้มน้าวตัวเองให้ออกจากพื้นที่คุ้นชิน
“ลำบากกว่านี้ก็เคยผ่านมาแล้วนี่
ทำไม่ได้ก็พยายามต่ออีกนิด”
.
4.4 รู้ตัวว่ากำลังต่อสู้กับการรักษาสภาพ
ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ ก็ขอให้รู้ตัว
ก็จะสามารถชนะได้มากขึ้นในอนาคต
.
4.5 แม้สู้ไม่ได้ แต่ขอให้อยู่ในพื้นที่ยืดตัวได้อย่างต่อเนื่อง
แต่การแพ้กลับไปอยู่ในพื้นที่คุ้นชิน
จะทำให้เกิดความเครียด
เพราะเราได้เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของตัวเอง
ให้เป็นคนบรรลุเป้าหมายแล้ว
กลายเป็นสนุกสนานไปกับพื้นที่ยืดตัวแทน
.
5. วิธีคิดของคนที่บรรลุเป้าหมาย

– เป้าหมายมีไว้เพื่อเติบโตและการช่วยเหลือผู้อื่น
จะเป็นแรงขับเคลื่อนในการบรรลุเป้าหมายที่สูงขึ้น

Advertisements

– การเผชิญความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่าอาย

– การบรรลุเป้าหมายไม่ใช่เรื่องสุดยอด
เพราะเกิดจากการคิดย้อนศรและลงมือทำตามแผนอย่างเต็มที่
(เราแค่ทำซ้ำ มากและเร็วกว่าคนอื่น)

– การเติบโตคือการแบกรับความเสี่ยง
เพราะถ้าไม่เสี่ยงโดยการลงมือทำ
เราก็ไม่มีโอกาสเติบโตได้เลย

image 10

ข้อควรปฏิบัติของหัวหน้า
ในการบรรลุเป้าหมายของทีม
.
การบรรลุเป้าหมายทีมยากกว่าเป้าหมายส่วนตัว
– มี 3 ขั้นตอน เหมือนกันคือ
ตั้งเป้าหมายโดยคิดบวก
วางแผนโดยคิดลบ
และลงมือทำโดยคิดบวก
.
– ควรตั้งเป้าหมายที่น่าตื่นเต้น
เช่น เพิ่มยอดขาย, ยอดขายของผลิตภัณฑ์ใหม่,
คะแนนประเมินเพิ่มขึ้น หรือลดเวลาการทำงานลง
.
– ตั้งเป้าหมายโดยให้คนในทีม
ลองตั้งเป้าหมายของตัวเอง (Bottom-Up)
แล้วหัวหน้ารวบรวมและดูว่าตรงกับความคาดหวังหรือไม่
โดยอาจจะกล่าวว่า “น่าจะทำได้มากกว่านี้
ให้ตั้งเป้าด้วยตัวเลขที่อยากทำ ไม่ใช่ตัวเลขที่ทำได้” (Top-Down)
ก็จะทำให้ได้เป้าหมายตามหัวหน้าต้องการโดยที่ทีมก็ไม่ได้รู้สึกว่าถูกบังคับ
.
– บอกเหตุผลว่าทำไมเราจำเป็นต้องบรรลุเป้าหมายนี้ เช่น
1. ผลดีต่อสมาชิกในทีม
2. ช่วยบริษัทได้อย่างไร
3. ลูกค้าและสังคมจะรู้สึกยินดีอย่างไร
.
– ให้ทีมช่วยคิดแผน จะช่วยให้เกิดความตั้งใจมากขึ้น
เวลาเอาแผนไปลงมือทำ
– กล่าวถึงเป้าหมายและแผนซ้ำ ๆ บ่อย ๆ
ให้ทีมเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้
– ถ่ายทอดแผน, มอบหมายตำแหน่งพร้อมกับความคาดหวัง
ช่วยเพิ่มแรงจูงใจ บอกเหตุผลว่าทำไมถึงให้ตำแหน่ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

image 11

– เงื่อนไขของโค้ชชื่อดัง ที่ทำให้อยากทำตามคำสั่ง
โดยให้เหตุผลว่าทำไมต้องทำ และต้องทำให้ทีมไว้วางใจ โดยส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติดังนี้
1. รับฟังผู้อื่นอยู่เสมอ
2. เป็นคนพูดคำไหนคำนั้น
3. กล่าวคำขอบคุณอยู่เสมอ
4. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมอย่างมาก
5. พิจารณาทุกอย่างด้วยความรับผิดชอบของตัวเอง

การเพิ่มแรงจูงใจ
1. ชมเชยสมาชิก
หาเรื่องชมเสมอแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย
2. ตำหนิสมาชิก ในกรณีที่เกียจคร้านและไม่ใส่ใจคำสั่ง โดยต้องกล่าวหลังจากการชมเชย และแสดงความคาดหวังว่าต้องการให้ทีมทำอะไรเพิ่ม
3. ทำให้รู้สึกถึงการเติบโตจริงๆ หาให้เจอว่าทีมมีอะไรที่พัฒนาขึ้น แล้วบอกกับเขา จะทำให้มีแรงจูงใจ และมั่นใจเพิ่มขึ้น
4. แสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของทีม การไปฉลองด้วยกัน ใส่เสื้อทีม หรือการมีศัตรูร่วมกัน
5. ยิ้มแย้มอยู่เสมอ


 ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT:  https://bit.ly/3J8LS1W

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements