วิธีคัดหุ้นกลุ่มบริการ ลงทุนหลังวิกฤต
คู่มือลงทุนหุ้นกลุ่มบริการ มีอะไรบ้างที่ต้องรู้ วิเคราะห์หุ้นกลุ่มบริการต้องดูอะไร พร้อมแนะนำหุ้นเด่นผ่านรีเสิร์ชคุณภาพ
ตลาดหุ้นช่วงนี้เป็นจังหวะสำคัญในการตัดสินใจลงทุน เพราะมีหุ้นราคาถูกให้เลือกช้อปเต็มไปหมด
แต่เรื่องที่ต้องคิดให้ดีก็คือ เมื่อวิกฤตคลี่คลาย พื้นฐานของหุ้นที่เราเลือกเปลี่ยนไปหรือยัง หรือจะกลับมาดีได้เหมือนเดิมหรือเปล่า ?
หุ้นกลุ่มบริการ (Service Industry) เป็นหุ้นอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกให้ความสนใจ เพราะโดนผลกระทบหนักมาก ๆ จากโควิด-19
ด้วยมาตรการล็อกดาวน์ สายการบินต้องหยุดบิน โรงแรมปิดตัว ศูนย์การค้า-ร้านอาหารปิดชั่วคราว หรือแม้แต่โรงพยาบาลเองก็ต้องปรับตัวเมื่อจำนวนผู้ป่วยต่างชาติหายไป
แล้วหุ้นบริการจะยังน่าลงทุนอยู่ไหม มีอะไรบ้างที่ต้องให้ความสำคัญ วันนี้เรามีข้อมูลมาฝาก
โควิด-19 กระทบหุ้นบริการแค่ไหน ?
ก่อนอื่นอยากพาทุกคนมาดูก่อนว่าหุ้นกลุ่มบริการแต่ละหมวดธุรกิจเจอผลกระทบขนาดไหน
เพราะก่อนหน้านี้ภาคธุรกิจบริการเรียกว่าเป็น “ฮีโร่” ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยก็ว่าได้ ทั้งในแง่สัดส่วนมูลค่าต่อ GDP หรือมูลค่า Market Cap. ของหุ้นกลุ่มบริการ (Service Industry) ก็เติบโตจนมีสัดส่วนมากที่สุด
อย่างไรด็ตาม โควิด-19 พลิกโฉมอะไรหลายอย่างไป ซึ่ง 3-4 เดือนที่โควิดระบาดหนัก หุ้นกลุ่มบริการเจอแรงกระแทกหนักไม่แพ้กัน
หมวดธุรกิจท่องเที่ยว (TOURISM) คือ กลุ่มที่เจอผลกระทบมากสุด ราคาดัชนีลดลง -21.05 % จากการที่รายได้หด นักท่องเที่ยวหาย หลายโรงแรมมีอัตราเข้าพักแทบจะเป็นศูนย์
รองลงเป็นหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA) ราคาดัชนีลดลง -19.34% เพราะเป็นธุรกิจที่มีความอ่อนไหวสูงต่อภาวะเศรษฐกิจนั่นเอง
หุ้นกลุ่มบริการแต่ละหมวดธุรกิจกลับมาดีแค่ไหน ?
JITTA.com รวบรวมสถิติผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยหลังเกิดทุกโรคระบาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 พบว่า 1 ปีหลังเกิดโรคระบาด ตลาดหุ้นไทยบวกเฉลี่ย 19.80%
ที่น่าสังเกต คือ หุ้นกลุ่มบริการส่วนใหญ่ ฟื้นตัวได้โดดเด่นกว่าภาพรวมตลาด จะมีเพียงหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์กับท่องเที่ยวเท่านั้น ที่ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด
สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมแล้วหุ้นกลุ่มบริการ ถือเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ฟื้นตัวดีหลังเกิดโรคระบาด เพียงแต่เราต้องเข้าใจธรรมชาติของหุ้นกลุ่มนี้ให้ได้
เรื่องควรรู้ ก่อนลงทุน (Service Industry)
วิกฤตรอบนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น ดังนั้น ลองมาดูกันหน่อยว่าเมื่อวิกฤตผ่านพ้นไป หุ้นกลุ่มบริการกลับมาดีได้มากน้อยแค่ไหน
เราสามารถแยกหุ้นใน Service Industry ได้เป็น 6 หมวดธุรกิจ ได้แก่ พาณิชย์, การแพทย์, สื่อและสิ่งพิมพ์, ท่องเที่ยว, ขนส่ง และบริการเฉพาะกิจ ซึ่งก็มีจุดเด่น จุดด้อย ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน
ดังนั้น หากเราจะพิจารณาเลือกลงทุนในหมวดธุรกิจต่าง ๆ ของหุ้นบริการ นี่คือเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้ และกลับไปทำการบ้านเพิ่มเติมให้ดีก่อนตัดสินใจ
หมวดธุรกิจพาณิชย์
• กำลังซื้อและพฤติกรรมผู้บริโภค
• ต้นทุนค่าเช่าโลเคชั่น
• การหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
หมวดธุรกิจการแพทย์
• สัดส่วนรายได้จากลูกค้าต่างชาติ
• การค้นพบวัคซีนโควิด-19
• การควบคุมต้นทุนในการลงทุนขยายกิจการ
หมวดธุรกิจท่องเที่ยว
• การเปิดเส้นทางบิน
• นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยว
• เงินสดและภาระหนี้สิน
หมวดธุรกิจขนส่ง
• การเปิดเส้นทางขนส่ง
• แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
หมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์
• พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
• ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในประเทศ
หมวดธุรกิจบริการเฉพาะกิจ
• นโยบายของภาครัฐ
• ความสามารถในการแข่งขัน
หุ้นกลุ่มบริการแบบไหน น่าลงทุน ?
แล้วถ้าจะเลือกหุ้นบริการเพื่อลงทุนในช่วงนี้ หุ้นลักษณะแบบไหนที่เราต้องมองหาให้เจอ ลองมาดูกัน
1. ความสามารถในการทำกำไรสูง
โดยปกติเมื่อเทียบกับภาคการผลิต ภาคบริการจะมีความสามารถในการทำกำไรที่สูงกว่าอยู่แล้ว เพราะมีลักษณะเป็น Price Marker สามารถกำหนดราคาขายได้เอง
สามารถวิเคราะห์ได้จากรายได้และยอดขายเติบโตขึ้นทุกปี อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดีกว่าคู่แข่ง และดีกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
2. ฐานะการเงินมั่นคง ภาระหนี้สินต่ำ
สถานการณ์แบบนี้ กระแสเงินสดเป็นหัวใจสำคัญต่อการทำธุรกิจ บริษัทที่ดีจึงต้องมีฐานะทางการเงินมั่นคง เช่น มีกระแสเงินสดจากการดำเนินการมากกว่าอัตรากำไรสุทธิ หนี้ระยะยาวต่ำ และไม่สร้างหนี้สินมากจนเกินศักยภาพทำกำไร
3. อยู่ในมือผู้บริหารที่ดี
ผู้บริหารถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกหุ้น เพราะกิจการจะขับเคลื่อนผ่านวิกฤตไปได้ก็ด้วยผู้บริหารที่ดี ซึ่งเราดูได้จากการมีมุมมองเดียวกับผู้ถือหุ้น, ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา, ผลประโยชน์ที่มอบให้ผู้ถือหุ้น เช่น เงินปันผล เป็นต้น
ส่องหุ้นเด่น ผ่านรีเสิร์ช (TNP, VRANDA, PORT)
ปัญหาคือหุ้นบริการในตลาดตอนนี้มีมากกว่า 200 ตัว เราไม่สามารถแสกนหุ้นทุกตัวได้หมด วิธีที่ช่วยย่นระยะเวลาหาข้อมูลได้ดีมากก็คือการไล่อ่านบทวิเคราะห์นั่นเอง
อย่างตอนนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) มีโครงการ ERC ที่ได้รวบรวมบทวิเคราะห์ให้เราเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น เห็นโอกาสชัดเจนขึ้น ลองเข้าไปดูได้เลยที่ https://setga.page.link/EkzXAXc7HC67q1d19
วันนี้เลยขอยกตัวอย่างหุ้นบริการที่ถูก cover จากโครงการ ERC มาพรีวิวให้ดูกันคร่าว ๆ ดังนี้
1.) หุ้น TNP หรือ บริษัท ธนพิริยะ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกคล้าส่งในพื้นที่ภาคเหนือ มีสาขามากถึง 30 แห่งในเชียงราย พะเยา และเชียงใหม่ โดยมีจุดเด่น คือ
- กลยุทธ์การขายที่แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อแบรนด์อื่น ๆ โดยธนพิริยะ จะตั้งทำเลในแหล่งชุมชนที่มีตลาดสด มีจอดรถ และขายของใช้ในครัวเรือน
- บริษัทมีซัพพลายเออร์กว่า 400 ราย รวมสินค้ากว่า 15,000 รายการ ซึ่งทั้งหมดเป็นสินค้าที่จัดซื้อภายในประเทศ
- ความเข้าใจผู้บริโภคในพื้นที่ภาคเหนือ บริษัทจึงเน้นขยายสาขาเฉพาะบริเวณที่มีความเชี่ยวชาญและมั่นใจเท่านั้น โดยตั้งเป้าหมายขยายสาขา 3-4 สาขาต่อปี
ปัจจัยสำคัญวิเคราะห์หุ้น TNP
- การเติบโตของยอดขายของสาขาเดิม (SSSG)
SSSG (Same Store Sales Growth) คือ การเติบโตของยอดขายสาขาเดิม ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตแบบ Organic ของธุรกิจค้าปลีก และแสดงถึงประสิทธิภาพในการรีดกำไรที่มากขึ้นนั่นเอง
- อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าบรหารต่อรายได้รวม (SG&A Ratio)
เป็นการเทียบสัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายในการขายสินค้า ค่าการตลาด เงินเดือนผู้บริหาร กับรายได้ หาก SG&A Ratio ยิ่งต่ำยิ่งดี เพราะบอกถึงความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
- อัตราการทำกำไร
อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) และอัตรากำไรสุทธิ (NPM) ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะใช้วัดความสามารถในการควบคุมต้นทุนสินค้า และการตั้งราคาขายของธุรกิจค้าปลีกได้เป็นอย่างดี
2.) หุ้น VRANDA บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน)
ผู้ประกอบการโรงแรมในหัวเมืองท่องเที่ยวสำคัญ รวมยังมีธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ และแบรนด์ร้านอาหาร โดยมีความน่าสนใจ ดังนี้
- เป็นผู้นำธุรกิจโรงแรม Boutique ระดับบนที่มีเอกลักษ์เฉพาะตัว โดยมีโรงแรมในหัวเมืองเที่ยวสำคัญ 6 แห่ง
- ได้รับผลกระทบจากโควิดน้อยกว่ากลุ่ม เพราะโรงแรมส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่พัทยา หัวหิน เชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย
- มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระยะยาว
ปัจจัยสำคัญวิเคราะห์หุ้น VRANDA
- อัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate)
เป็นตัวเลขสำคัญในการวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม เพราะแสดงให้เห็นว่ามีผู้เข้าพักมากน้อยแค่ไหน โดยคิดจากห้องที่มีผู้เข้าพักกับจำนวนห้องที่โรงแรมมีทั้งหมด
- รายได้เฉลี่ยต่อห้องพักต่อคืน (RevPAR)
เรามักใช้ RevPar วิเคราะห์ควบคู่กับ Occupancy Rate เพื่อดูประสิทธิภาพทางการเงินของธุรกิจโรงแรม เพราะถ้า RevPAR โต ก็จะสะท้อนไปถึงงบการเงินที่โตตามไปด้วยนั่นเอง
- ฤดูกาลท่องเที่ยว (Seasonal)
ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกับฤดูกาลเป็นอย่างมาก เราจึงควรมีความเข้าใจว่าช่วงไหนเป็น High หรือ Low Season
3.) หุ้น PORT บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน)
ดำเนินธุรกิจท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีความโดดเด่นด้วยทำเล และบริการครบวงจร ดังนี้
- บริการท่าเรือพาณิชย์ที่ครบวงจร ทั้งให้บริการท่าเทียบเรือ, ให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางบก, ให้บริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า ทำให้เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ PORT จะมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก
- นอกจากนี้ ยังมีทำเลที่ตั้งของท่าเรืออยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาและใกล้สะพานภูมิพล ซึ่งได้เปรียบคู่แข่งเรื่องต้นทุนโลจิสติกส์
ปัจจัยสำคัญวิเคราะห์หุ้น PORT
- ตัวเลขนำเข้าส่งออกสินค้า
ภาพรวมผลดำเนินงานของ PORT จะขึ้นอยู่กับปริมาณการส่งออกและนำเข้า ซึ่งมีผลมาจากทั้งการเปิดเส้นทางขนส่ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมถึงฤดูกาลขนส่งสินค้า
- นโยบายการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ EEC
การเปิดเส้นทางขนส่ง EEC จะเป็นแรงหนุนสำคัญในระยะยาว ที่จะมีโอกาสเพิ่มปริมาณขนส่งได้มากขึ้นจากการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง
View PostReplaceAdd title
ตลาดหุ้นช่วงนี้เป็นจังหวะสำคัญในการตัดสินใจลงทุน เพราะมีหุ้นราคาถูกให้เลือกช้อปเต็มไปหมด
แต่เรื่องที่ต้องให้คิดดีก็คือ เมื่อวิกฤตคลี่คลาย พื้นฐานของหุ้นที่เราเลือกเปลี่ยนไปหรือยัง หรือจะกลับมาดีได้เหมือนเดิมหรือเปล่า ?
หุ้นกลุ่มบริการ (Service Industry) เป็นหุ้นอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกให้ความสนใจ เพราะโดนผลกระทบหนักมาก ๆ จากโควิด-19
ด้วยมาตรการล็อกดาวน์ สายการบินต้องหยุดบิน โรงแรมปิดตัว ศูนย์การค้า-ร้านอาหารปิดชั่วคราว หรือแม้แต่โรงพยาบาลเองก็ต้องปรับตัวเมื่อจำนวนผู้ป่วยต่างชาติหายไป
แล้วหุ้นบริการจะยังน่าลงทุนอยู่ไหม มีอะไรบ้างที่ต้องให้ความสำคัญ วันนี้เรามีข้อมูลมาฝาก
โควิด-19 กระทบหุ้นบริการแค่ไหน ?
ก่อนอื่นอยากพาทุกคนมาดูก่อนว่าหุ้นกลุ่มบริการแต่ละหมวดธุรกิจเจอผลกระทบขนาดไหน
เพราะก่อนหน้านี้ภาคธุรกิจบริการเรียกว่าเป็น “ฮีโร่” ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยก็ว่าได้ ทั้งในแง่สัดส่วนมูลค่าต่อ GDP หรือมูลค่า Market Cap. ของหุ้นกลุ่มบริการ (Service Industry) ก็เติบโตจนมีสัดส่วนมากที่สุด
อย่างไรด็ตาม โควิด-19 พลิกโฉมอะไรหลายอย่างไป ซึ่ง 3-4 เดือนที่โควิดระบาดหนัก หุ้นกลุ่มบริการเจอแรงกระแทกหนักไม่แพ้กัน
หมวดธุรกิจท่องเที่ยว (TOURISM) คือ กลุ่มที่เจอผลกระทบมากสุด ราคาดัชนีลดลง -21.05 % จากการที่รายได้หด นักท่องเที่ยวหาย หลายโรงแรมมีอัตราเข้าพักแทบจะเป็นศูนย์
รองลงเป็นหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA) ราคาดัชนีลดลง -19.34% เพราะเป็นธุรกิจที่มีความอ่อนไหวสูงต่อภาวะเศรษฐกิจนั่นเอง
หุ้นกลุ่มบริการแต่ละหมวดธุรกิจกลับมาดีแค่ไหน ?
JITTA.com รวบรวมสถิติผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยหลังเกิดทุกโรคระบาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 พบว่า 1 ปีหลังเกิดโรคระบาด ตลาดหุ้นไทยบวกเฉลี่ย 19.80%
ที่น่าสังเกต คือ หุ้นกลุ่มบริการส่วนใหญ่ ฟื้นตัวได้โดดเด่นกว่าภาพรวมตลาด จะมีเพียงหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์กับท่องเที่ยวเท่านั้น ที่ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด
สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมแล้วหุ้นกลุ่มบริการ ถือเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ฟื้นตัวดีหลังเกิดโรคระบาด เพียงแต่เราต้องเข้าใจธรรมชาติของหุ้นกลุ่มนี้ให้ได้
ที่มา : https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1591778183096.pdf
เรื่องควรรู้ ก่อนลงทุน (Service Industry)
วิกฤตรอบนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้น ดังนั้น ลองมาดูกันหน่อยว่าเมื่อวิกฤตผ่านพ้นไป หุ้นกลุ่มบริการกลับมาดีได้มากน้อยแค่ไหน
เราสามารถแยกหุ้นใน Service Industry ได้เป็น 6 หมวดธุรกิจ ได้แก่ พาณิชย์, การแพทย์, สื่อและสิ่งพิมพ์, ท่องเที่ยว, ขนส่ง และบริการเฉพาะกิจ ซึ่งก็มีจุดเด่น จุดด้อย ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน
ดังนั้น หากเราจะพิจารณาเลือกลงทุนในหมวดธุรกิจต่าง ๆ ของหุ้นบริการ นี่คือเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้ และกลับไปทำการบ้านเพิ่มเติมให้ดีก่อนตัดสินใจ
หมวดธุรกิจพาณิชย์
• กำลังซื้อและพฤติกรรมผู้บริโภค
• ต้นทุนค่าเช่าโลเคชั่น
• การหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
หมวดธุรกิจการแพทย์
• สัดส่วนรายได้จากลูกค้าต่างชาติ
• การค้นพบวัคซีนโควิด-19
• การควบคุมต้นทุนในการลงทุนขยายกิจการ
หมวดธุรกิจท่องเที่ยว
• การเปิดเส้นทางบิน
• นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยว
• เงินสดและภาระหนี้สิน
หมวดธุรกิจขนส่ง
• การเปิดเส้นทางขนส่ง
• แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
หมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์
• พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
• ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในประเทศ
หมวดธุรกิจบริการเฉพาะกิจ
• นโยบายของภาครัฐ
• ความสามารถในการแข่งขัน
หุ้นกลุ่มบริการแบบไหน น่าลงทุน ?
แล้วถ้าจะเลือกหุ้นบริการเพื่อลงทุนในช่วงนี้ หุ้นลักษณะแบบไหนที่เราต้องมองหาให้เจอ ลองมาดูกัน
1. ความสามารถในการทำกำไรสูง
โดยปกติเมื่อเทียบกับภาคการผลิต ภาคบริการจะมีความสามารถในการทำกำไรที่สูงกว่าอยู่แล้ว เพราะมีลักษณะเป็น Price Marker สามารถกำหนดราคาขายได้เอง
สามารถวิเคราะห์ได้จากรายได้และยอดขายเติบโตขึ้นทุกปี อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดีกว่าคู่แข่ง และดีกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม
2. ฐานะการเงินมั่นคง ภาระหนี้สินต่ำ
สถานการณ์แบบนี้ กระแสเงินสดเป็นหัวใจสำคัญต่อการทำธุรกิจ บริษัทที่ดีจึงต้องมีฐานะทางการเงินมั่นคง เช่น มีกระแสเงินสดจากการดำเนินการมากกว่าอัตรากำไรสุทธิ หนี้ระยะยาวต่ำ และไม่สร้างหนี้สินมากจนเกินศักยภาพทำกำไร
3. อยู่ในมือผู้บริหารที่ดี
ผู้บริหารถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกหุ้น เพราะกิจการจะขับเคลื่อนผ่านวิกฤตไปได้ก็ด้วยผู้บริหารที่ดี ซึ่งเราดูได้จากการมีมุมมองเดียวกับผู้ถือหุ้น, ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา, ผลประโยชน์ที่มอบให้ผู้ถือหุ้น เช่น เงินปันผล เป็นต้น
ส่องหุ้นเด่น ผ่านรีเสิร์ช (TNP, VRANDA, PORT)
ปัญหาคือหุ้นบริการในตลาดตอนนี้มีมากกว่า 200 ตัว เราไม่สามารถแสกนหุ้นทุกตัวได้หมด วิธีที่ช่วยย่นระยะเวลาหาข้อมูลได้ดีมากก็คือการไล่อ่านบทวิเคราะห์นั่นเอง
อย่างตอนนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) มีโครงการ ERC ที่ได้รวบรวมบทวิเคราะห์ให้เราเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น เห็นโอกาสชัดเจนขึ้น ลองเข้าไปดูได้เลยที่ https://setga.page.link/EkzXAXc7HC67q1d19
วันนี้เลยขอยกตัวอย่างหุ้นบริการที่ถูก cover จากโครงการ ERC มาพรีวิวให้ดูกันคร่าว ๆ ดังนี้
1.) หุ้น TNP หรือ บริษัท ธนพิริยะ จำกัด (มหาชน)
ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกคล้าส่งในพื้นที่ภาคเหนือ มีสาขามากถึง 30 แห่งในเชียงราย พะเยา และเชียงใหม่ โดยมีจุดเด่น คือ
- กลยุทธ์การขายที่แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อแบรนด์อื่น ๆ โดยธนพิริยะ จะตั้งทำเลในแหล่งชุมชนที่มีตลาดสด มีจอดรถ และขายของใช้ในครัวเรือน
- บริษัทมีซัพพลายเออร์กว่า 400 ราย รวมสินค้ากว่า 15,000 รายการ ซึ่งทั้งหมดเป็นสินค้าที่จัดซื้อภายในประเทศ
- ความเข้าใจผู้บริโภคในพื้นที่ภาคเหนือ บริษัทจึงเน้นขยายสาขาเฉพาะบริเวณที่มีความเชี่ยวชาญและมั่นใจเท่านั้น โดยตั้งเป้าหมายขยายสาขา 3-4 สาขาต่อปี
ปัจจัยสำคัญวิเคราะห์หุ้น TNP
- การเติบโตของยอดขายของสาขาเดิม (SSSG)
SSSG (Same Store Sales Growth) คือ การเติบโตของยอดขายสาขาเดิม ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตแบบ Organic ของธุรกิจค้าปลีก และแสดงถึงประสิทธิภาพในการรีดกำไรที่มากขึ้นนั่นเอง
- อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าบรหารต่อรายได้รวม (SG&A Ratio)
เป็นการเทียบสัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายในการขายสินค้า ค่าการตลาด เงินเดือนผู้บริหาร กับรายได้ หาก SG&A Ratio ยิ่งต่ำยิ่งดี เพราะบอกถึงความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
- อัตราการทำกำไร
อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) และอัตรากำไรสุทธิ (NPM) ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะใช้วัดความสามารถในการควบคุมต้นทุนสินค้า และการตั้งราคาขายของธุรกิจค้าปลีกได้เป็นอย่างดี
2.) หุ้น VRANDA บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน)
ผู้ประกอบการโรงแรมในหัวเมืองท่องเที่ยวสำคัญ รวมยังมีธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ และแบรนด์ร้านอาหาร โดยมีความน่าสนใจ ดังนี้
- เป็นผู้นำธุรกิจโรงแรม Boutique ระดับบนที่มีเอกลักษ์เฉพาะตัว โดยมีโรงแรมในหัวเมืองเที่ยวสำคัญ 6 แห่ง
- ได้รับผลกระทบจากโควิดน้อยกว่ากลุ่ม เพราะโรงแรมส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่พัทยา หัวหิน เชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย
- มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระยะยาว
ปัจจัยสำคัญวิเคราะห์หุ้น VRANDA
- อัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate)
เป็นตัวเลขสำคัญในการวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรม เพราะแสดงให้เห็นว่ามีผู้เข้าพักมากน้อยแค่ไหน โดยคิดจากห้องที่มีผู้เข้าพักกับจำนวนห้องที่โรงแรมมีทั้งหมด
- รายได้เฉลี่ยต่อห้องพักต่อคืน (RevPAR)
เรามักใช้ RevPar วิเคราะห์ควบคู่กับ Occupancy Rate เพื่อดูประสิทธิภาพทางการเงินของธุรกิจโรงแรม เพราะถ้า RevPAR โต ก็จะสะท้อนไปถึงงบการเงินที่โตตามไปด้วยนั่นเอง
- ฤดูกาลท่องเที่ยว (Seasonal)
ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวมีความเกี่ยวข้องกับฤดูกาลเป็นอย่างมาก เราจึงควรมีความเข้าใจว่าช่วงไหนเป็น High หรือ Low Season
3.) หุ้น PORT บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน)
ดำเนินธุรกิจท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีความโดดเด่นด้วยทำเล และบริการครบวงจร ดังนี้
- บริการท่าเรือพาณิชย์ที่ครบวงจร ทั้งให้บริการท่าเทียบเรือ, ให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางบก, ให้บริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า ทำให้เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ PORT จะมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก
- นอกจากนี้ ยังมีทำเลที่ตั้งของท่าเรืออยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาและใกล้สะพานภูมิพล ซึ่งได้เปรียบคู่แข่งเรื่องต้นทุนโลจิสติกส์
ปัจจัยสำคัญวิเคราะห์หุ้น PORT
- ตัวเลขนำเข้าส่งออกสินค้า
ภาพรวมผลดำเนินงานของ PORT จะขึ้นอยู่กับปริมาณการส่งออกและนำเข้า ซึ่งมีผลมาจากทั้งการเปิดเส้นทางขนส่ง กิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมถึงฤดูกาลขนส่งสินค้า
- นโยบายการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ EEC
การเปิดเส้นทางขนส่ง EEC จะเป็นแรงหนุนสำคัญในระยะยาว ที่จะมีโอกาสเพิ่มปริมาณขนส่งได้มากขึ้นจากการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง
เอาเป็นว่า… ใครอยากอ่านข้อมูลเต็ม ๆ สามารถเข้าไปอ่าน หรือดาวน์โหลดบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ https://setga.page.link/EkzXAXc7HC67q1d19
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
เอาเป็นว่า… ใครอยากอ่านข้อมูลเต็ม ๆ สามารถเข้าไปอ่าน หรือดาวน์โหลดบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ https://setga.page.link/EkzXAXc7HC67q1d19
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb