FinSpace

LVMH (หุ้น Louis Vuitton) อาณาจักรแฟชั่นหรูที่โตโดยวิศวกรก่อสร้าง | Business Shortcut EP.02

https://www.youtube.com/watch?v=uvtjDvaUjBs

ย้อนรอยเส้นการเติบโตของอาณาจักรแฟชั่นหรูที่เริ่มต้นจากโรงงานผลิตกระเป๋าหนังในครอบครัว จุดเปลี่ยนสู่การเติบโต ไปจนถึงสงครามการแย่งหุ้นของ 2 ตระกูล

กระทั่งเปลี่ยนมือมาอยู่ภายใต้การบริหารของ Bernard Arnault วิศวกรก่อสร้างผู้พลิกโฉม LVMH (Louis Vuitton) ให้กลายเป็นอาณาแฟชั่นระดับโลกอย่างทุกวันนี้ Business Shortcut สรุปทุกเรื่องราวมาให้ดูกันแบบเข้าใจง่ายๆ ใน 10 ข้อ

Advertisements

1.
จุดกำเนิดแรกก่อนจะเป็นอาณาจักร LVMH อย่างทุกนี้ Louis Vuitton เป็นแบรนด์ผลิตกระเป๋าหนังในครอบครัว มานานกว่า 100 ปี และมีเพียง 2 สาขาในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น

2.
กระทั่งในปี 1970 ทายาทรุ่นที่ 4 “Henry Racamier” เข้ามาเปลี่ยน Louis Vuitton จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์หรูในฝรั่งเศส เขาสามารถพลิกโฉมให้ LV กลายเป็นแบรนด์ขนาดใหญ่ ด้วยการเจาะตลาดเอเชีย โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้เวลาแค่ 10 ปี LV ก็ประสบความสำเร็จ ขยายสาขาไปกว่า 135 แห่งทั่วโลก

3.
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 1987 เมื่อ LV ตัดสินใจควบรวมกิจการกับ Moët Hennessy (MH) บริษัทแชมเปญชื่อดัง และนี่กลายจุดเริ่มต้นของธุรกิจ LVMH อย่างที่เรารู้จักในวันนี้

4.
แต่ผ่านไปเพียง 2 ปีหลังจากควบรวมกิจการ ก็ได้เกิดสงครามแย่งชิงหุ้นของ 2 ตระกูล เนื่องจากความขัดแย้งเรื่องนโยบายบริหารระหว่าง LV กับ MH จึงมีการแย่งหุ้นบริษัทกันไปมา เพื่อชิงอำนาจบริหารสูงสุด

5.
ทว่าคนที่ชนะในเกมนี้ กลับไม่ใช่ทั้งตระกูล LV และ MH แต่คือคนนอกอย่าง Bernard Arnault เพราะเขาเข้ามาอาศัยโอกาสที่กลุ่มผู้บริหารเดิมแตกคอกัน แล้วกว้านซื้อหุ้นจาก 2 ครอบครัวไปเป็นของตัวเองแบบเงียบๆ รู้ตัวอีกที Bernard Arnault ก็กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไปซะแล้ว

Advertisements

6.
Bernard Arnault เคยเป็นวิศวกรก่อสร้างมาก่อน ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับแฟชั่นเลย แต่ด้วยความฝันของเขาที่อยากมีธุรกิจแบรนด์เนมเป็นของตัวเอง เมื่อโอกาสเข้ามาเขาจึงรีบคว้ามันไว้ทันที

7.
หมาป่าในเสื้อคลุมแคชเมียร์ คือ ฉายาของ Bernard Arnault เพราะหลังจากที่เขาขึ้นเป็นประธาน LVMH ตั้งแต่ปี 1989 ก็ขึ้นชื่อเรื่องความเด็ดขาดอย่างและเลือกเย็นอย่างมาก เขาปลดพนักงาน 9,000 คน บีบกลุ่มผู้บริหารเดิมออกไปทั้งหมด

8.
อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าวิสัยทัศน์การทำธุรกิจของ Arnault นั้นทำให้ LVMH เติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งกุญแจความสำเร็จมาจากความคิดสร้างสรรค์ Arnault สนุกที่จะเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ให้กลายเป็นธุรกิจ และย้ำอยู่เสมอว่าผลกำไรในวันนี้ ไม่สำคัญเท่าการสร้างแบรนด์ในอนาคต

9.
ภายใต้การบริการของ Arnault วันนี้ LVMH กลายเป็นอาณาจักรแบรนด์เนมหรูที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมากกว่า 75 แบรนด์หรู
อาทิ Louis Vuitton, Dior, LOEWE, TAG Heuer และ Fendi เป็นต้น ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 12 ล้านล้านบาท

Advertisements

10.
Bernard Arnault ก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของโลกคนใหม่เป็นที่เรียบร้อย ด้วยมูลค่าทรัพย์สินกว่า 5.83 ล้านล้านบาท จากมูลค่าแบรนด์อันแข็งแกร่ง และยอดขายมหาศาลของแบรนด์ในเครือ ซึ่งถ้าลองไล่ดูรายชื่อมหาเศรษฐี 10 อันดับแรกของโลก
จะพบว่ามีเพียงเขาคนเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements