FinSpace

รู้จบในที่เดียว ค่าธรรมเนียมกองทุนมีอะไรบ้าง ?

1200x628 1
ค่าธรรมเนียมกองทุนมีอะไรบ้าง ?

เชื่อว่านักลงทุนหลาย ๆ คนที่ลงทุนในกองทุน จะต้องมีข้อสงสัยเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมว่ามีรายการอะไรบ้าง ? แล้วจะเลือกกองทุนโดยคัดจากค่าธรรมเนียมอย่างไรดี ? บทความนี้จะสรุปส่วนประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียมกองทุนให้เห็นภาพมากขึ้น …

ประเภทของค่าธรรมเนียมกองทุนไม่ว่าเราจะลงทุนอะไรก็ตาม มักจะมีค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย โดยกองทุนก็มีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งเป็นรายได้เพียงช่องทางเดียวของกองทุน โดยจะกระจายไปให้ทุกคนที่มีส่วนช่วยในการบริหารกองทุน ไม่ว่าจะเป็น ผู้จัดการกองทุน ตัวแทนซื้อขาย ผู้ดูแลทรัพย์สิน และ บลจ. ฯลฯ

หากเราแยกค่าธรรมเนียมที่กองทุนเรียกเก็บ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ …

1. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย

เป็นค่าธรรมเนียมที่กองทุนเก็บจากผู้ซื้อขายโดยตรง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราทำการซื้อหรือขายหน่วยลงทุน โดยจะเก็บเป็น % ของมูลค่าซื้อขายรวมเข้าไปในราคา NAV ที่ บลจ. แจ้งให้ทราบตอนยืนยันคำสั่งซื้อขาย เช่น กองทุนมีราคา NAV 10 บาท เก็บค่าธรรมเนียมซื้อ 1% จะต้องซื้อที่ราคา 10.1 บาท เป็นต้น ซึ่งค่าธรรมเนียมประเภทนี้มีอยู่ด้วยกันหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น

Advertisements

– Front-end
ค่าธรรมเนียมในการขายหน่วยลงทุนของกองทุน ซึ่งจะเก็บตอนเราซื้อกองทุน

– Back-end
ค่าธรรมเนียมในการที่กองทุนซื้อหน่วยลงทุนคืนจากเรา เก็บเมื่อเราทำการขายกองทุน

– Switching-in
เป็นค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยนเข้า เก็บเมื่อซื้อกองที่ย้ายมาจากกองอื่นใน บลจ.เดียวกัน แต่โดยปกติมักไม่เก็บ เพราะกองทุนได้ทำการเก็บจาก Front-end ไปแล้ว

– Switching-out
เป็นค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยนออก เก็บเมื่อขายกองที่ย้ายออกไปกองอื่นใน บลจ.เดียวกัน แต่โดยปกติมักไม่เก็บ เพราะกองทุนได้ทำการเก็บจาก Back-end ไปแล้ว

– Spread
เป็นส่วนต่างมูลค่าหน่วยลงทุน ซึ่งเก็บในรูปแบบของส่วนต่างราคาตอนทำรายการแทน

– Transaction Fee
เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุน เช่น ค่า Commission จากหุ้น เป็นต้น

– Transfer Fee
เป็นค่าธรรมเนียมในการโอนกองทุนให้คนอื่น เช่น พ่อแม่ เป็นต้น

– Exit Fee
เป็นค่าธรรมเนียมจากการขายออกก่อนเวลาที่กำหนด ซึ่งบางกองทุนจะกำหนดระยะเวลาถือกองทุนขั้นต่ำ เพื่อไม่ให้มีการซื้อขายหลาย ๆ รอบ ซึ่งจะรบกวนการบริหารกองทุน

Advertisements

แต่อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว กองทุนส่วนใหญ่มักจะเก็บแค่ค่าธรรมเนียมตอนซื้อ (Front-end) และค่าธรรมเนียมตอนขาย (Back-end) โดยกองทุนจะไม่ได้เก็บ 2 ค่าดังกล่าวพร้อมกัน ซึ่งถ้าอยากทราบว่ากองทุนไหนเก็บค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง สามารถดูได้ที่หนังสือชี้ชวนของกองทุน หรือ www.finnomena.com/fund

2.ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม

เป็นค่าธรรมเนียมที่ถูกหักออกจากราคา NAV ของกองทุนที่มีการอัปเดตทุกวัน ซึ่งจะเป็น % ค่าธรรมเนียมต่อปี หากเราจะคิดเป็นแบบวันต่อวัน เราจะต้องนำไปหาร 365 แล้วนำไปหักออกจาก NAV ต่อวัน เช่น กองทุนเก็บค่าบริหารจัดการปีละ 2% หมายความว่ากองนี้จะหัก NAV ออกไปวันละ 2%/365 = 0.005% ซึ่งหักพร้อมกับการคำนวณ NAV ณ สิ้นวัน เป็นต้น

ซึ่งค่าธรรมเนียมประเภทนี้มีอยู่ด้วยกันหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น

– Management Fee
เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการ ซึ่งเป็นค่าแรงของทีมผู้จัดการกองทุนที่มีหน้าที่ในการบริหารกองทุนรวมให้เรา โดยจะแตกต่างไปตามความยากง่ายในการบริหาร เช่น กองทุนประเภท Active Fund จะมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า Passive Fund เป็นต้น

– Trustee Fee
ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ มีหน้ารับรองราคา NAV ให้ถูกต้อง และควบคุมให้กองทุนดูแลผลประโยชน์นักลงทุนตามนโยบายที่บอกไว้

Advertisements

-Registrar Fee
เป็นค่าธรรมเนียมนายทะเบียน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การจ่ายเงินปันผล เป็นต้น

หลักการเลือกกองทุนจากค่าธรรมเนียม
หลังจากที่เรารู้แล้วว่าค่าธรรมเนียมของกองทุนมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ สำหรับวิธีในการเลือกกองทุนไม่ให้เสียค่าธรรมเนียมมากจนเกินไปในเบื้องต้น มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
– ไม่ซื้อขายกองทุนบ่อยเกินไป เพราะจะเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขายสูง
– ควรเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทนที่กองทุนทำได้กับค่าธรรมเนียม ว่าคุ้มค่าหรือไม่ เมื่อเทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่กองทุนทำได้
– กองทุนต่างประเภทมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราควรเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น
– ระมัดระวังในการเลือกกองทุนประเภท Active Fund ที่ทำผลตอบแทนไม่คุ้มกับค่าธรรมเนียมที่เสียไป ซึ่งจะทำให้เสียค่าธรรมเนียมที่สูง


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT:  https://bit.ly/3J8LS1W

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements