FinSpace

ลงทุนอย่างไรไม่ให้ล้มเหลว โดยอาศัย Rules of Thumb

ลงทุนอย่างไรไม่ให้ล้มเหลว

ลงทุนอย่างไรไม่ให้ล้มเหลว โดยอาศัย Rules of Thumb
TFPA x FinSpace
ประโยค “Rule of thumb” นั้น โดยทั่วไปหมายถึงหลักการง่ายๆ คำแนะนำเบื้องต้นหรือวิธีคิดคร่าวๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ สำหรับวันนี้เราจะมาเรียนรู้ Rule of thumb ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการช่วยเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการง่ายๆ ในการลงทุน ซึ่งนักลงทุนสามารถนำความรู้นี้ไปปรับใช้ในการลงทุนได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความล้มเหลวที่อาจเกิดกับการลงทุนของท่าน

หลักการ Rule of thumb สำหรับการเงินและการลงทุนนั้นมีมากมาย ในที่นี้จะขอยกเอากฎบางส่วนมานำเสนอเพื่อเป็นแนวทางให้กับนักลงทุนนะคะ

Advertisements

1.Rule of 72

เป็นกฎที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่ายๆ เพื่อหาระยะเวลาในการลงทุนที่จะทำให้มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยการนำตัวเลข 72 หารด้วยผลตอบแทนจากการลงทุน ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านนักลงทุนนำเงิน 100 บาท ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน 10% ต่อปี มูลค่าของเงินลงทุนจะเพิ่มเป็น 200 บาทในเวลา 7.2 ปี (72÷10)

2.กฎ “120 Minus Your Age”

เป็นกฎที่ช่วยผู้ลงทุนในการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ (asset allocation) แบบคร่าวๆ โดยผู้ลงทุนควรมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่เท่ากับ 120 ลบอายุของผู้ลงทุน เช่น ถ้านักลงทุนอายุ 50 ปี นักลงทุนท่านนี้ควรจะมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงสูงเท่ากับ 70% ของเงินลงทุนทั้งหมด

ส่วนเงินลงทุนที่เหลือให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำหรือมีความปลอดภัยสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูง สำหรับกฎข้อนี้เดิมใช้ “100 Minus Your Age” คือใช้ตัวเลข 100 แต่เนื่องจากในปัจจุบันอายุขัยเฉลี่ยของคนเรามีอายุยืนยาวขึ้น จึงได้มีการเสนอให้ปรับตัวเลขจาก 100 เป็น 120 ทั้งนี้ผู้ลงทุนสามารถปรับใช้ตัวเลขดังกล่าวได้ตามที่ท่านเห็นสมควร

3.“อย่าเอาเงินไปลงกับหุ้นเพียงตัวใดตัวหนึ่ง แต่ให้พยายามกระจายความเสี่ยงไปยังหุ้นหลายๆ ตัว”

สำหรับกฎข้อนี้คิดว่านักลงทุนหลายๆ ท่านน่าจะคุ้นเคยและคงกำลังปฏิบัติตามกฎข้อนี้กันอยู่แล้วใช่ไหมคะ?

Rule of Thumb ที่เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ คือ อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในระยะยาวคือ 4% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มปรับลดลงเนื่องจากหลายหลายปัจจัย เช่น การขยายตัวของ E-commerce ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น สามารถเปรียบเทียบราคาได้สะดวกขึ้น ต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เป็นต้นควรจะเตรียมเงินเป็นจำนวน 20 เท่าของรายรับรวมทั้งปีก่อนหักภาษีเพื่อไว้ใช้ภายหลังเกษียณ เช่น ถ้าคุณมีรายได้ 1 ล้านบาทต่อปี คุณควรจะเตรียมเงินไว้สำหรับการเกษียณเป็นจำนวน 20 ล้านบาท อย่างไรก็ตามกฎข้อนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการวางแผนเกษียณเท่านั้น เพราะการคำนวณนี้ไม่ได้คำนึงถึงตัวเลขค่าใช้จ่ายเลย ท่านนักลงทุนจึงอาจจะนำเอาค่าใช้จ่ายมาปรับใช้ในการคำนวณจำนวนเงินเพื่อการเกษียณด้วยก็จะทำให้ได้ตัวเลขที่เหมาะสมมากขึ้น

5. “4% withdrawal rule”

คือ กฎการถอนเงินจากกองทุนที่เตรียมไว้ใช้ยามเกษียณเป็นจำนวน 4% ในปีแรกของการเกษียณ หลังจากนั้นจำนวนเงินที่ถอนแต่ละปีให้ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ เช่น คุณมีเงินที่เตรียมไว้เพื่อการเกษียณ 10 ล้านบาท ในปีแรกของการเกษียณให้คุณถอนเงิน 400,000 บาทสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย ปีต่อมาถ้าให้อัตราเงินเฟ้อเป็น 3% คุณจึงควรถอนเงิน 412,000 บาทจากกองทุนเพื่อการเกษียณของคุณ (400,000*1.03)

Advertisements

โดยวิธีการนี้เชื่อกันว่าจะทำให้คุณมีเงินใช้เพียงพอสำหรับชีวิตในวัยเกษียณไปประมาณ 30 ปี อย่างไรก็ตาม กฎข้อนี้มีพื้นฐานมาจากการจัดพอร์ตการลงทุนที่มีสัดส่วนของหุ้นที่ค่อนข้างสูงถึง 60% โดยประมาณ ผลตอบแทนคาดหวังของพอร์ตจึงค่อนข้างสูงเช่นกัน

กฎข้อนี้จึงไม่อาจใช้ได้กับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงหรือมีการปรับพอร์ตการลงทุนภายหลังเกษียณโดยเน้นลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ประเภทพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ นอกจากนี้กฎข้อนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงปี ค.ศ.1990 ทำให้อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมามีความผันผวนค่อนข้างมาก เช่น อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตค่อนข้างมาก ดังนั้นนักลงทุนที่ต้องการนำกฎข้อนี้ไปใช้ จึงควรต้องปรับปรุงแนวคิดเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์การลงทุนในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

Rule of Thumb ข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Rule of Thumb ด้านการเงินและการลงทุนที่มีการนำมาใช้กันอีกมากมาย นอกจากนี้ กฎข้างต้นนี้เป็นเพียงคำแนะนำทั่วๆไป โดยไม่ได้คำนึงถึงเป้าหมายและข้อจำกัดด้านการลงทุนของนักลงทุนแต่ละบุคคล ดังนั้นท่านนักลงทุนจึงควรปรับใช้กฎต่างๆ ให้เข้ากับสไตล์การลงทุนหรือเป้าหมายการลงทุนของท่านเอง

Advertisements

บทความโดย คุณศุมาลิน อินนุพัฒน์ นักวางแผนการเงิน CFP®
ติดตามความรู้อื่นๆ จากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย www.tfpa.or.th


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb

อ่านอะไรต่อดี…

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements