FinSpace

แจกคู่มือการลงทุน วิธีเลือกกองทุนให้ถูกใจ

1200x628 1

FSspecialcolumnists x เด็กการเงิน DekFinance l แจกคู่มือการลงทุน วิธีเลือกกองทุนให้ถูกใจ

วันนี้ เด็กการเงิน ขอรวมเคล็ดลับในการเลือกกองทุนรายตัว

Advertisements

ไม่ว่าจะลงทุนสั้น/ยาว หรือนำมาจัดพอร์ต ต้องดูอะไรบ้าง ?

เราขอพามาเจาะ 3 บทเรียนสำคัญในการเลือกกองทุนให้ถูกใจ ใช่เลย ดังนี้ครับ

1. ศึกษาให้รู้ว่ากองทุนนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อะไร

1

ก่อนนำเงินของเราไปลงทุนในกองทุน ต้องตอบให้ได้ว่ากองทุนนั้นนำไปลงในสินทรัพย์อะไร? ไม่ว่ากองใหม่ กองเก่า ทุก บลจ. ต้องให้ Factsheet มา หน้าแรกจะบอกเลยว่า กองทุนจะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อะไร? ลงทุนตรง หรือลงทุนผ่านกองทุนต่างประเทศอีกที 🤓

สินทรัพย์มีหลากหลายชนิด ไล่ตั้งแต่ เงินสด ตราสารหนี้ หุ้น ทรัสต์ในอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้มีลักษณะ ความเสี่ยง และที่รายได้ที่ต่างกัน เช่น

🍓ตราสารหนี้มาจากการกู้ยืม ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับการชำระหนี้ โดยเจ้าหนี้จะได้ดอกเบี้ยและเงินต้นจากการให้กู้ยืม (ไม่ว่าลูกหนี้จะเป็น รัฐ สถาบัน หรือ บริษัท)

🍉หุ้น ได้รายได้จากการทำกิจการ รายได้ขึ้นอยู่กับการขายสินค้า การลงทุน หุ้นจะขึ้นลงตามราคาในตลาด และผลตอบแทนจากการปันผล กองทุนหุ้นมีหลายแบบด้วยกัน เป็นกองทุนกระจายลงทั้งตลาด

🍎ทรัสต์ในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์และโครงส้รางพื้นฐาน รายได้แปรผันตามจากค่าเช่า และการบริการ โดยปกติถ้าไม่ใช่ COVID-19 แล้ว REIT มักจะมีความเสี่ยงพอๆกับหุ้น คือราคาขึ้นอยู่กับการซื้อขายในตลาด และอัตราการปันผล

🍒ทองคำ ขึ้นลงตามเสถียรภาพของค่าเงิน ความมั่นคง และภาวะเศรษฐกิจ โดยมักจะเคลื่อนไหวตรงข้ามกับหุ้น เมื่อโลกเกิดความไม่แน่นอน ราคาทองคำจะขึ้น เป็นต้น

Advertisements

2. เลือกให้ตรงตามวัตถุประสงค์ 🎯

2


เมื่อเรามีรายได้ และหักค่าใช้จ่ายจำเป็นออกแล้ว “การใช้เงินทำงาน” ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงิน ทำให้เรารู้ว่าต้องมีกองทุนแบบไหนในพอร์ตของเรา เอ.. หรือว่าถือตัวเดียวดี เรามี guideline มาฝาก

– พักเงิน หรือปกป้องเงินต้น ให้เลือกกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง

– ลงทุนระยะสั้น ตามข่าว หรือรอบเศรษฐกิจ เราแนะนำให้เลือกกองทุนเป็นรายตัว รู้ว่าสินทรัพย์นั้นสัมพันธ์กับ catalyst อย่างไร ไม่ต้องจัดพอร์ตให้งง

– ลงทุนเพื่อสะสมเงินก้อน เป้าหมายระยะกลาง/ยาว แนะนำให้จัดเป็นพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง ทำพอร์ตให้มีผลตอบแทนสม่ำเสมอด้วยการทำ Asset Allocation มีสัดส่วนหุ้นมาก ยิ่งมีความเสี่ยงมาก แต่ก็จะได้ผลตอบแทนที่คาดหวังมากตาม เช่น กองหุ้นต่อตราสารหนี้ 60/40 70/30 หรือ 80/20 เป็นต้น ถ้าจะลงหุ้น 100 เลย เราแนะนำว่าต้องมีการเฉลี่ยต้นทุนเป็นประจำนะ เพราะจะไม่มีสินทรัพย์อื่นที่ช่วยในการ rebalance เวลาเราต้องการขายตราสารหนี้ ไปถัวเฉลี่ยกองทุนหุ้นตอนมันราคาตก

– ลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณ (Retirement) และลดหย่อนภาษี ควรจะทำเป็นพอร์ตเช่นกัน ลงทุนในสิ่งที่ชอบและมีแนวโน้มการเติบโต ไม่มีกองทุนไหนมากเกินไป ที่เหลือคือการจัดสัดส่วน และนำกองทุนที่ชอบมาใส่ เหมือนจัดสวนเลย 😄

– ลงทุนเพื่อสร้างกระแสเงินสด เนื่องจากกองทุนเดียว สินทรัพย์ชนิดเดียวไม่อาจจะเป็นผู้ชนะตลอดไป การจัดพอร์ตจะทำให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอมากขึ้น จะได้นำกระแสเงินสดออกไปใช้ได้ แม้ในยามตลาดขาลง

จะเห็นได้ว่ากองทุนเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยวางแผนทางการเงินเท่านั้น เรานี่แหละที่ต้องเลือกให้ถูก และให้มันได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่

Advertisements

3. เปรียบเทียบกองทุน ใน 5 มิติ

3


มาถึงหัวข้อสำคัญว่าเราเลือกกองทุนอย่างไร

1. สไตล์การบริหารของกองทุน หลักการจัดพอร์ตของผู้จัดการกองทุนเป็นอย่างไร กลยุทธ์อะไรทำให้เค้าเอาชนะตลาดได้? กองนี้ดีกว่ากองอื่นอย่างไร? โดยเฉพาะกองทุน Active ซึ่งบางค่ายมีแนวทางชัดเจนมาก เช่น Baillie Gifford แต่ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ดังนั้น
ถ้าเรามีโอกาสได้อ่าน Factsheet ของกองทุน และฟังผู้จัดการกองทุนไลฟ์ตามที่ต่างๆ จะทำให้เราเข้าใจการบริหารกองทุนได้มากทีเดียว

2. ผลงานย้อนหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีเป็นอย่างไร ผลงานมีความต่อเนื่องหรือไม่ (ไม่ฟลุ๊ก) และไม่ใช่เพียงผลตอบแทนอย่างเดียว ความผันผวนของกองทุนเป็นส่วนที่ต้องพิจารณาเช่นเดียวกัน ใช้ Sharpe Ratio ในการเปรียบเทียบระหว่างกองทุน รวมถึง Maximum Drawdown ในอดีตว่ากองทุนสามารถจัดการต่อสภาวะขาลงได้ดีแค่ไหน

3. ความเสี่ยง เช่น ลงทุนกระจุกตัวในหุ้นหนึ่งตัว หรือในอุตสาหกรรมหนึ่งๆเยอะเกินไปหรือไม่ (อ่านได้จาก Factsheet) และต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศร่วมดัวย ว่ากองทุนนั้นมีการ Hedging แบบไหน

4. ค่าธรรมเนียม ..ถ้าเราเจอกองสไตล์คล้ายกัน มีtrack record ที่น่าพอใจ แต่ความธรรมเนียมสูงไม่สมเหตุผลเมื่อเทียบกับ peer ก็ควรหลีกเลี่ยง แต่ถ้าต่างกันไม่มาก อาจจะเลือกกองที่เราถูกใจแทน ไม่ใช่เลือกต่ำกว่าเสมอไปนะ ดูสไตล์และความสามารถของกองทุนร่วมด้วย

5. Rating หรือรางวัลของกองทุน อย่างเช่น MorningStar เป็นการแสดงให้เห็นถึงผลงานของกองทุนเมื่อเทียบกับความผันผวนว่าทำได้ดีแค่ไหนเมื่อเทียบกับกองประเภทเดียวกัน มีความต่อเนื่องในผลงาน *แต่ว่าตรงนี้อาจจะต้องเข้าใจด้วยผลตอบแทนในอดีตไม่ได้ยืนยันผลตอบแทนในอนาคต* ดังนั้นเรทติ้ง อาจจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการช่วยเปรียบเทียบกองทุน


Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements