รู้จักดอลลาร์ฮ่องกง สกุลเงินนี้สำคัญยังไง
ก่อนหน้านี้ที่ทางการจีนผ่านกฎหมายความมั่นคงในฮ่องกง ส่งให้สหรัฐฯ พิจารณาสถานะพิเศษทางการค้าของฮ่องกงหรืออาจมีมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งในกรณีแย่ที่สุดอาจแบนฮ่องไม่ให้เข้าถึงเงินดอลลาร์ แต่จะเป็นไปได้อย่างงั้นหรือ ? ได้โอกาสที่เหมาะสมเช่นนี้ เลยไปหาข้อมูลอ่านจนสรุปสิ่งที่น่าสนใจมาแบ่งปันกันครับ
ก่อนอื่นขอพาไปรู้จักกับการผูกค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงกับดอลลาร์สหรัฐฯ
มีการผูกค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงกับดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปี 1983 ที่ 7.8 HK$/$ หลังค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงอ่อนค่าร่วงอย่างหนัก ซึ่งในปี 2005 ได้กำหนดกรอบการเคลื่อนไหวไว้ที่ 7.75 – 7.85 HK$/$
การผูกค่าเงินของฮ่องกงในครั้งนั้นฮ่องกงเพียงแค่แจ้งให้สหรัฐฯ ทราบแต่ไม่ต้องได้รับการอนุมัติจากสหรัฐฯ ซึ่งทุกรัฐบาลทั่วโลกสามารถตัดสินใจผูกค่าเงินประเทศตนเองไว้กับค่าเงินอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่มีความสามารถและทุนสำรองเพียงพอต่อการปกป้องอัตราแลกเปลี่ยน
อะไรที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวได้บ้าง?
บางครั้งอัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหว ก็อื่นต้องบอกก่อนว่านอกจากจะผูกค่าเงินกับสหรัฐฯ แล้ว ฮ่องกงยังผูกนโยบายการเงินกับสหรัฐฯ ด้วย ดังนั้นจึงปรับอัตราดอกเบี้ยในทิศทางเดียวกับ Fed
และเมื่อใดก็ตามที่อัตราดอกเบี้ยของฝั่งฮ่องกงไม่เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับสหรัฐฯ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ว่านั้น ของฮ่องกงคือ interbank rate ของดอลลาร์ฮ่องกง หรือ Hibor ส่วนสหรัฐฯ ก็คือ Libor
ดังนั้นหาก Hibor สูงกว่า Libor ก็อาจส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าฮ่องกง หนุนดอลลาร์ฮ่องกงให้แข็งค่า แต่หาก Libor สูงกว่า กระแสเงินก็จะไหลในทางกลับกัน
HKMA ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร ?
หากอัตราแลกเปลี่ยนไปแตะระดับ 7.75 HK$/$ นั่นแปลว่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ HKMA จะซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือนำเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ออกจากระบบ เมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ น้อยลงก็ทำให้เงินดอลลาร์ฮ่องกงเริ่มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
ในทางกลับกันหากอัตราแลกเปลี่ยนไปแตะระดับ 7.85 HK$/$ HKMA ก็จะขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ออกมา
วิธีการอื่นก็มี โดยหากดอลลาร์ฮ่องกงแข็งค่าเกินไปจนวิธีการข้างต้นเอาไม่อยู่ HKMA อาจเลือกพิมพ์เงินดอลลาร์ฮ่องกงออกมาเพื่อลดต้นทุนทางการเงิน นั่นก็คือ Hibor เมื่อ Hibor ลดลง ความน่าสนใจในการนำเงินเข้าฮ่องกงก็ลดลง
แต่การพิมพ์เงินก็อาจส่งให้เกิดเงินเฟ้อ ดังนั้น HKMA ก็จะใช้ exchange fund bills เพื่อควบคุมปริมาณเงินและต้นทุนการเงิน โดยอาจขาย exchange fund bills เพื่อลดปริมาณเงินในระบบและเพิ่มต้นทุนการเงินกลับมา
สรุปคือ เพิ่มเงินเข้าระบบก่อนเพื่อลดดอกเบี้ย แล้วเอาเงินออกให้ดอกเบี้ยกลับไปที่เดิม
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
อ่านอะไรต่อดี…