FinSpace

รีวิวกองทุน MPCREDIT-UI: ก้าวสู่โลก Private Credit ลงทุนบริษัทยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ สำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ

441425805 1116735609434243 5234359609560719276 n 1

ในปัจจุบัน Private Credit เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Assets) ที่มีกระแสตอบรับดีในเรื่องของการให้ผลตอบแทนที่ดีท่ามกลางภาวะตลาดผันผวน ข้อมูลช่วงปี 2023 ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 12.31% โดยการลงทุนใน Private Credit สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน UI หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ

Advertisements
Picture1
อัตราผลตอบแทนย้อนหลังต่อปีของ Private Credit
Source: Cliffwater LLC. 2023 Q4 Report on U.S. Direct Lending : CDLI Total Return 9.46% (Sep 2004-Dec 2023)                                                                  
ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

Private Credit เป็นการระดมเงินจากนักลงทุนเพื่อปล่อยกู้โดยตรง (Direct lending) ให้กับบริษัทเอกชนที่มีคุณภาพ ทั้งนี้กองทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็น ดอกเบี้ย ส่งผ่านไปยัง นักลงทุน

อัตราดอกเบี้ยของ Private Credit จะเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) โดยเป็นการปล่อยกู้แบบมีหลักประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กองทุน และลดความผันผวน

ความน่าสนใจของการลงทุนใน Private Credit จะช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตของผู้ลงทุน เพราะมีความสัมพันธ์กับตลาดการลงทุนโดยรวมต่ำ เติบโตได้สม่ำเสมอจากผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ย  และยังได้ประโยชน์จากเงื่อนไขการปล่อยกู้ที่เข้มงวด เช่น โครงสร้างข้อตกลง และพันธสัญญา

ก้าวสู่โลก Private Credit ผ่านกองทุน MPCREDIT-UI

การที่ Private Credit ให้ผลตอบแทนที่สูงขนาดนี้ จึงกลายเป็นทางเลือกของผู้ลงทุนที่กำลังหาโอกาสในการลงทุนใหม่ ๆ เน้นกระจายพอร์ตการลงทุน และลดความเสี่ยงจากตลาดทุนทั่วไป อย่างตราสารหนี้ หุ้น ทอง และอสังหาริมทรัพย์

ถือเป็นโอกาสดีที่ FinSpace จะขอพาไปทำความรู้จักกับ กองทุน MPCREDIT-UI หรือกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไพรเวท เครดิต โซลูชั่น ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย ซึ่งเป็น

  • กองทุนรวมที่เสนอขายสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือ UHNW เท่านั้น 
  • กองทุนรวมมีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน (มีความเสี่ยงระดับ 8+)

กองทุน MPCREDIT-UI เป็นกองทุน Feeder Fund ลงทุนในกองทุนหลักคือ Apollo Debt Solutions BDC iCapital Offshore Access Fund SPC ที่มีนโยบายลงทุนใน Private Credit แบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ

โดยกองทุนเน้นลงทุนใน Private Credit เป็นหลัก ผ่านการปล่อยกู้โดยตรง ทั้งในรูปแบบเงินกู้ และตราสารหนี้อื่น ๆ โดยเน้นปล่อยกู้ให้กับผู้กู้เอกชนขนาดใหญ่คุณภาพดีที่อยู่ในสหรัฐฯ มี EBITDA หรือกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีมากกว่า 100 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 3.5 พันล้านบาท

Apollo บริษัทจัดการกองทุนสาย Private Credit อันดับ 1

ลงทุนมั่นใจกับ Apollo Asset Management  ที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 33 ปีผู้นำด้าน Alternative Credit อันดับ 1 โดยบริษัทมีแนวทางการลงทุนสไตล์ Bottom-up, Value-driven ป้องกันความเสี่ยง

ทั้งนี้มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารสูงถึง 651,000 ล้านเหรียญ (ข้อมูล 31 ธ.ค. 66) มีผู้เชี่ยวชาญด้าน Credit Investment กว่า 360+ คน มีผู้กู้มากกว่า 4,000 ราย และ Credit relationships กว่า 900 ราย

จึงทำให้ Apollo สามารถคัดบริษัทสหรัฐฯ ชั้นนำคุณภาพ เครดิตดี มีขนาดใหญ่ โดยมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ลำดับต้น ๆ 

Apollo Debt Solutions l ADS ได้รับการจัดอันดับเครดิต 
Investment grade BBB- โดย S&P, และ Baa3 โดย Moody’s

แล้วในปี 2023 กองทุน ADS สร้างผลตอบแทน Total net return 16.2% และมีการจ่าย Distribution Yield 9.73% (Annualized) กองทุนมี Net Asset Value 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ  2 แสนล้านบาท (ข้อมูล 30 เม.ย 67)

ทำไม MPCREDIT-UI ภายใต้ ADS ถึงน่าสนใจ ?

  • เน้นปล่อยกู้ให้กับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่คุณภาพดีในสหรัฐฯ (EBITDA เฉลี่ย 228 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 8,000 ล้านบาท)
  • สินเชื่อที่ปล่อยกู้จัดเป็นประเภท First Lien (เป็นเจ้าหนี้ลำดับชั้นแรก) 100% มีสิทธิก่อนหน้าผู้ถือหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นในการเรียกเอาทรัพย์ในการได้เงินคืน และมี Average Loan to Value (LTV) ของพอร์ตที่ระดับ 39 % (หมายความว่าบริษัทที่มีมูลค่าหลักประกันที่ 100 จะให้กู้เพียง 39 เท่านั้น)
  • การลงทุนมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ เฉลี่ยต่ำที่ 0.1% ต่อปี และมีอัตราการสูญเสียน้อยกว่า 0.04% ต่อปี (ในช่วง 15 ปีย้อนหลัง)
  • Net Leverage ปัจจุบัน 0.52 เท่า โดยกองทุนมี Target Leverage 1-1.25 เท่า (จากข้อกำหนดไม่เกิน 2 เท่า)
  • Alignment โดย Apollo จะมีการลงทุนควบคู่ไปกับ ADS ในการลงทุนส่วนใหญ่ กว่า 85%

Source: Fund Factsheet as of April 2024

วิเคราะห์บริษัทผู้กู้อย่างเข้มข้นและจริงจัง

ADS มีกระบวนการวิเคราะห์ผู้กู้ที่เข้มข้น มุ่งเน้นปล่อยกู้ในธุรกิจที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยวิเคราะห์เครดิต กระแสเงินสดของบริษัท หลักประกัน กําหนดเงื่อนไขสัญญา (covenants) และกระบวนการตรวจสอบ เพื่อปกป้องและลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้

กระบวนการวิเคราะห์เครดิต

image 1
กระบวนการวิเคราะห์เครดิตของกองทุนหลัก | Source: Public Fund Snapshot MPCREDIT-UI as of May 2024
  1. ปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของบริษัท: เน้นบริษัทใน defensive sectors 
  2. Due diligence เชิงลึก: ที่เน้นปัจจัยพื้นฐานและมูลค่าตามสไตล์ของ private equity
  3. การป้องกันเชิงโครงสร้างที่เข้มข้น: กระแสเงินสดของ first lien และ Unitranche และควบคุมไม่ให้เกินขอบเขตการก่อหนี้
  4. ขนาดมีความสำคัญ: การมีส่วนร่วมในโครงสร้างเงินทุนที่มีขนาดใหญ่ เพื่อผลักดันเงื่อนไข และยกระดับในเชิงเศรษฐศาสตร์ และควบคุมหลักประกัน
  5. กระบวนการด้านความเสี่ยงขององค์กร: การบริหารพอร์ตโฟลิโอที่ครอบคลุม หน่วยงานบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระ และทีมด้าน ESG โดยเฉพาะ
  6. การบริหารและติดตามแบบ active: มีทีมบริหารและทีม restructuring โดยเฉพาะ ที่ติดตามและพูดคุยรายวัน

นอกจากนี้ยังวิเคราะห์กระแสเงินสด Cash Flow Analysis โดยประเมินการทำธุรกรรม โอกาสในการลงทุน แบบ deal by deal basis เน้นวิเคราะห์ความผันผวน และความเสี่ยงของกระแสเงินสดของบริษัท ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก

สัดส่วนการลงทุนของ Apollo Debt Solutions

Advertisements
image 2
   สัดส่วนการลงทุนของกองทุนหลัก | Source: Fund Factsheet as of April 2024

กองทุนปล่อยกู้ให้กับบริษัทในสหรัฐฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของทรัพย์สินทั้งหมด รวมถึงอาจปล่อยกู้ให้กับบริษัทในยุโรปและประเทศอื่น ๆ โดยไม่เกินร้อยละ 30 ของทรัพยสินทั้งหมด โดยมีการกระจายการลงทุนสูง ซึ่งปัจจุบันลงทุนอยู่ที่ 230 บริษัท ปล่อยกู้สูงสุดให้ไม่เกินบริษัทละ 5% ปัจจุบันปล่อยกู้สูงสุดคิดเป็นเพียง 2.2% และ Top 10 รวมกันเพียง 17.3% เท่านั้น ยกตัวอย่างบริษัท

  • BDO USA บริษัทให้บริการด้านบัญชี ภาษี และที่ปรึกษาทางบัญชี ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
  • VFS Global บริษัทรับบริการด้านวีซ่าส่วนแบ่งทางการตลาดใหญ่ที่สุดในโลก 
  • ASDA Stores Limited ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่อันดับสามของอังกฤษ

นอกจากนี้ยังกระจายการลงทุนในหลากหลาย Sector โดยมีแนวการลงทุนแบบ Defensive มุ่งเน้นในธุรกิจที่มีคุณภาพ โดย Sector Software ที่สัดส่วนสูงสุดมีเพียง 12.7% เท่านั้น

ผลตอบแทนย้อนหลังของ Apollo Debt Solutions

441803822 852453066700929 857240720953180627 n 2
ผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนหลัก | Source: Fund Factsheet as of April 2024

  • โอกาสรับผลตอบแทนสูง 8-10%/ปี (หลักหักค่าธรรมเนียม แต่ไม่รวมผลกระทบจากค่าเงิน)
  • ผลตอบแทนจ่ายออกสม่ำเสมอในรูปแบบ Auto redemption (การขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ) ไม่เกินปีละ 12 ครั้ง 
  • ผลตอบแทนในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนในอนาคต

สรุปเกี่ยวกับกองทุน MPCREDIT-UI

  • กองทุนรวมประเภท Feeder Fund กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนขายผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ 
  • กองทุนไม่กำหนดอายุโครงการ
  • รับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (Auto Redemption) ไม่เกินปีละ 12 ครั้ง
  • ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Apollo Debt Solutions BDC iCapital Offshore Access Fund SPC
  • มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักจะลงทุนในกองทุนอ้างอิงที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์ประเภท Private Credit โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% ของ NAV
  • บริษัทจัดการมีนโยบายที่จะทำการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตามความเหมาะสมสำหรับสภาวะการณ์ในแต่ละขณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงของกองทุน ระดับ 8+ (เสี่ยงสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ)
  • นโยบายการจ่ายปันผล ไม่มี
  • ค่าธรรมเนียมซื้อ 1.5% / ค่าธรรมเนียมขาย ไม่มี
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก 500,000 บาท / ลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไป 100,000 บาท
  • การซื้อหน่วยลงทุนเป็นแบบรายเดือน (วันแรกของแต่ละเดือน) โดยต้องส่งคําสั่งซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้า 7 วันทําการ พร้อมชําระเงินคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้า

คุณสมบัติของนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ

อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าผู้ที่จะลงทุนในกองทุน MPCREDIT-UI ต้องเป็นผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น เพราะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกที่มีความเฉพาะตัว มีความเสี่ยงระดับ 8+ (เสี่ยงสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ)

ในกรณีที่ผู้ลงทุน UHNW เป็นบุคคลธรรมดา จะต้องผ่านคุณสมบัติ 2 ด้าน คือ ฐานะทางการเงิน และความรู้หรือประสบการณ์ ดังนี้ 

1. เกณฑ์ฐานะทางการเงิน UHNW (ผ่านเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง)

  • รายได้ไม่น้อยกว่า 6 ล้านบาทต่อปี
  • เงินลงทุนไม่รวมเงินฝากไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท 
  • เงินลงทุนรวมเงินฝากไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท
  • สินทรัพย์สุทธิไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท 

2. เกณฑ์ความรู้หรือประสบการณ์ UHNW* (ผ่านเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง)

Advertisements
  • มีประสบการณ์การลงทุนย้อนหลังในสินทรัพย์เสี่ยงเป็นประจำและต่อเนื่อง
  • มีประสบการณ์ทำงานด้านการบริหารการเงินและการลงทุน 
  • มีความรู้ความเข้าใจในหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างเพียงพอ
  • เป็นผู้แนะนำการลงทุนหรือผู้วางแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
  • ได้รับวุฒิบัตรหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ดังนี้ CFA, CISA, CAIA หรือ CFP

*เกณฑ์ความรู้หรือประสบการณ์จะเป็นไปตามดุลพินิจของผู้ให้บริการแต่ละราย

ยืนยันความฮ็อต ! MFC ขยายขนาด IPO เพิ่มเป็น 5,000 ล้านบาท !

เมื่อเดือน พ.ค. 67 ที่ผ่านมา MFC ได้ปิดการขาย IPO สำหรับกองทุน MPCREDIT-UI ไปกว่า 2,588 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกวาดรายได้ทะลุเป้า จนทำให้ต้องขยายขนาดกองทุนเพิ่มเป็น 5,000 ล้านบาท เพื่อรองรับกระแสความต้องการ และโอกาสการลงทุนใน Private Credit เพิ่มอีกครั้ง

ผู้ลงทุนที่สนใจ สามารถส่งคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนล่วงหน้ารอบเดือน มิ.ย. 67 ได้ตั้งแต่ วันนี้ – 20 มิ.ย. 67
โดยรายการลงทุนถัดไปสามาถติดตามได้ที่: https://mfcfund.com/estate-fund-inform-4/?fc=MPCREDIT-UI?type=All

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.mfcfund.com หรือโทร 02-649-2000 กด 0


คำเตือน:

กองทุนรวมที่เสนอขายสําหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น | กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน | กองทุนนี้ไม่ถูกจํากัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป และลงทุนกระจุกตัวในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่อง ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว | ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และ/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements