FinSpace

กองทุน RMF vs ประกันบำนาญ 2 เครื่องมือวางแผนเกษียณ

Cashury กองทุน RMF vs

#FSspecialcolumnists x Cashury l กองทุน RMF vs ประกันบำนาญ ได้ทั้งลดหย่อนภาษีและมีเงินใช้หลังเกษียณ

มี 2 เครื่องมือสำหรับใช้วางแผนเกษียณที่เรามองว่ามีลักษณะคล้ายกัน คือ “กองทุน RMF” กับ “ประกันบำนาญ” ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้จะช่วยให้เรามีเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ แถมยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เหมือนกันด้วย เหมาะสำหรับคนที่กำลังวางแผนเกษียณอายุและอยากลดหย่อนภาษีด้วย

Advertisements

วันนี้เราเลยจะมาเปรียบเทียบ กองทุน RMF กับ ประกันบำนาญ ประเด็นต่อประเด็นให้เห็นชัดเจนว่า ทั้ง 2 แตกต่างตรงจุดไหนบ้าง แล้วแบบไหนที่เหมาะกับเรา ?

Advertisements

1. วงเงินใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

  • กองทุน RMF: สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
  • ประกันบำนาญ: สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท หากเราไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตแบบทั่วไป ก็ยังสามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักในส่วนของเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 บาทก่อน แล้วค่อยนำส่วนที่เหลือมาหักในส่วนของประกันบำนาญ ทำให้สามารถลดหย่อนได้สูงสุดถึง 300,000 บาท

ซึ่งทั้ง 2 นี้ เมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ (กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูฯ / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนการออมแห่งชาติ / กองทุน SSF) รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

Advertisements

2. เงื่อนไขลงทุน / จ่ายเบี้ยประกัน

  • กองทุน RMF: ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี หรือสามารถเว้นการซื้อได้ 1 ปี และไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ
  • ประกันบำนาญ: ต้องส่งค่าเบี้ยประกันในจำนวนที่เท่ากันทุกปี จนถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากหยุดส่งค่าเบี้ยประกันก่อนครบกำหนดจะถือว่าผิดสัญญา จะส่งผลกับความคุ้มครองและจำนวนเงินที่จะได้รับไม่เป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์ หรืออาจทำให้สัญญาประกันสิ้นสุดลงทันที

3. ผลตอบแทนที่จะได้รับ

  • กองทุน RMF: ผลตอบแทนจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของกองทุนที่เราเลือก โดยกองทุน RMF มีกองทุนครบทุกประเภทสินทรัพย์ให้เลือกลงทุน เช่น ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น ดังนั้นเราเลยจะไม่รู้จำนวนเงินที่แน่นอน แต่ตามผลตอบแทนในอดีตสามารถคาดการณ์ได้ว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงก็จะได้รับผลแทนมากขึ้น เช่น กองทุนหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าประกันบำนาญ
  • ประกันบำนาญ: จะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนตามตกลงไว้ในสัญญากรมธรรม์

4. รูปแบบเงินที่จะได้รับหลังเกษียณ

  • กองทุน RMF: เมื่อครบเงื่อนไขการลงทุนในกองทุน RMF (อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี) โดยเราจะได้รับเป็นเงินก้อนพร้อมผลตอบแทนจากการขายคืน ซึ่งหลังจากเกษียณก็จะต้องนำเงินก้อนนี้มาบริหารจัดการวางแผนใช้จ่ายเอง
  • ประกันบำนาญ: เงินที่ได้จะคืนเป็นงวดๆ เช่น ปีละ 1 ครั้ง ไปจนถึงอายุประมาณ 85 ปี หรือจนสิ้นสุดสัญญา (ขึ้นอยู่กับแบบประกันที่เราเลือก) ทำให้เราสามารถวางแผนการใช้เงินและควบคุมการใช้ได้ง่ายขึ้น

5. ความคุ้มครองชีวิต

  • กองทุน RMF: ไม่มี
  • ประกันบำนาญ: ได้รับความคุ้มครองชีวิตทั้งก่อนและหลังเกษียณ วงเงินความคุ้มครองชีวิตขึ้นอยู่กับแบบประกันที่เราเลือก

6. เหมาะกับใคร

  • กองทุน RMF: เหมาะกับคนที่ต้องการผลตอบแทนสูง รับความเสี่ยงในการลงทุนได้ มีความรู้ด้านการลงทุนระดับนึง ช่วงหลังเกษียณสามารถบริหารจัดสรรเงินก้อนเองได้
  • ประกันบำนาญ: เหมาะกับคนที่ต้องการผลตอบแทนที่แน่นอน รับความเสี่ยงได้ต่ำ มีวินัยในการเก็บออมเงิน อยากมีรายได้สม่ำเสมอในช่วงหลังเกษียณ และต้องการความคุ้มครองชีวิต

ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements