FinSpace

เงินเดือนเท่านี้ ต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ?  [ผีกับภาษี
กลัวอันไหนมากกว่า ?]

7 เงินเดือนภาษี Banner

เงินทองของใกล้ตัว l ฮาโลวีนนี้ไม่ต้องกลัวผี แต่กลัวภาษีดีกว่า ! มนุษย์เงินเดือน เช็กเลย ปีนี้ต้องเสียภาษีเท่าไหร่กันแน่ ?

7 เงินเดือนภาษี

วิธีคำนวณภาษีสำหรับพนักงานประจำที่มีรายได้ตามเกณฑ์

ต้องเริ่มจากการหารายได้สุทธิเป็นอันดับแรก

Advertisements

ด้วยสูตร ➡️ รายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ

  • รายได้ทั้งปี คือรายได้ทั้งหมดที่เราได้รับตลอดปีนั้น ๆ เช่น เงินเดือน, โบนัส และอื่น ๆ
  • ค่าใช้จ่าย เปรียบเสมือนต้นทุนสำหรับการทำงานหาเงินของเรา โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ค่าลดหย่อน คือสิทธิประโยชน์ที่ช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง หรือได้รับเงินภาษีคืนเพิ่มขึ้น โดยค่าลดหย่อนที่สามารถนำมาหักได้ทันที คือ ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าประกันสังคมที่จ่ายตามจริงสูงสุด 9,000 บาท

ตัวอย่างวิธีคำนวณหารายได้สุทธิ

1. นาย ก. มีรายได้ทั้งปี 480,000 บาท
480,000-100,000-60,000-9,000 = 311,000 บาท

  • สรุปเงินได้สุทธิ = 311,000 บาท

2. จากนั้นนำไปคำนวณภาษีตามขั้นบันได (ดูตารางในคอมเมนต์)

ด้วยสูตร [(เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี] + ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า = ภาษีที่ต้องจ่าย

[(311,000 – 300,000) x 10%] + 7,500 บาท = 8,600 บาท

  • สรุปภาษีที่ต้องจ่าย = 8,600 บาท

แต่ถ้าไม่อยากโดยภาษีหลอก สามารถหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี เช่น SSF, RMF, Thai ESG หรือรายการลดหย่อนอื่น ๆ ที่เข้าร่วม ที่ทำให้เงินได้สุทธิลดลง และประหยัดภาษีได้มากขึ้น

Advertisements

ดูรายการลดหย่อนภาษีได้ที่ https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid02mUECHxx7iWzKSxdBekExcPTejsPR5riEPc7nz5CGYCE8GvDy9rMcNpBpXB85z62A

หมายเหตุ :

– ตัวอย่างนี้เป็นการคำนวณภาษีเบื้องต้นโดยใช้สมมติฐานว่ามีรายได้จากงานประจำเพียงช่องทางเดียว และคำนวณจากเงินเดือนเท่านั้น ไม่รวมโบนัส

– เงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี

Advertisements

– เงินได้สุทธิคำนวณจากเงินได้ที่หักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท, หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และหักค่าประกันสังคม 9,000 บาท

– ไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เพิ่มเติม


ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
X : http://bit.ly/2keFfVD
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXn

Advertisements

FinSpace

https://www.finspace.co/

"เรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ"

Related post

Advertisements