เลือกเปลี่ยนภาษีเป็นเงินเกษียณ กับ RMF กองทุนเด็ด ธีมลงทุนต่างประเทศ จาก บลจ.กรุงศรี
สรุปการปรับโครงสร้าง SCB ตั้งบริษัทใหม่ SCBX
ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ตั้งบริษัท SCBX เตรียมเข้าเทรดในตลาดหุ้นแทน SCB เดิม
FinSpace จึงได้สรุปเรื่องนี้มาให้อ่านแบบเข้าใจง่าย ถึงที่มาที่ไป สาเหตุ และสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
..
ตั้ง SCBX เป็น Holding Company
แผนการปรับโครงสร้างครั้งนี้ อันดับแรกจะมีการจัดบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า SCBX หรือ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบธุรกิจ Holding Company ลงทุนในบริษัทอื่นๆ ในเครือ
โดยให้นิยามของ SCBX ว่าจะเป็นเหมือน “ยานแม่” ที่ถือหุ้นในหลายธุรกิจของกลุ่ม ทั้ง ธนาคาร บัตรเครดิต สินเชื่อ ประกัน หลักทรัพย์ และธุรกิจที่เป็น New Growth อีกมากมาย
ใครนึกภาพไม่ออก ลองมองไปที่กลุ่มปตท. ก็ได้ ซึ่งมี PTT เป็นบริษัทแม่ถือหุ้นหลายๆ ธุรกิจในเครือ ไม่ว่าจะเป็น PTTEP, PTTGC, TOP, IRPC, GPSC, OR เป็นต้น
..
ลบหุ้น SCB ออกจากกระดาน
จากนั้นจะมีการเพิกถอน SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และนำ SCBX เข้ามาซื้อขายแทน โดยทำการแลกหุ้น (swap) ในอัตรา 1 ต่อ 1
แปลว่าผู้ถือหุ้น SCB ก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้น SCBX เช่นเดียวกันธุรกิจธนาคารของ SCB ที่จะกลายเป็นหนึ่งในบริษัทลูกของ SCBX
ขั้นตอนต่อไปบริษัทเตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 พ.ย. นี้ เพื่ออนุมัติขอ Swap หุ้น และปรับโครงสร้างธุรกิจ
..
จ่ายเงินปันผลพิเศษ 70,000 ล้านบาท
เมื่อการแลกหุ้นระหว่าง SCB และ SCBX เสร็จสิ้น จะมีการจ่ายปันผลพิเศษประมาณ 70,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 70% เพื่อให้ SCBX นำไปจัดตั้งธุรกิจใหม่ตามแผน และอีก 30% เป็นเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งคาดว่าจะจ่ายได้ในช่วงปี 2565
..
ทำไมต้องตั้ง SCBX เป็นบริษัทใหม่?
ทางบริษัทให้เหตุผลว่าต้องการปลดล๊อกความสามารถในการแข่งขัน และไม่ต้องติดอยู่ในกรอบของธุรกิจธนาคารแบบเดิมๆ ซึ่งมีข้อจำกัดมากมายที่ทำให้ขยับตัวลำบาก จะทำธุรกิจใหม่ๆ ก็ไม่รวดเร็วทันใจ
เพราะเป้าหมายใหญ่ของ SCBX ต้องการที่จะเป็นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินที่มากกว่าธนาคาร ด้วยการโตแบบ Exponential หรือการเติบโตแบบยกกำลังนั่นเอง
..
กลุ่มธุรกิจใหม่จะของ SCBX มีอะไรบ้าง?
สิ่งที่เราจะได้เห็นเร็วๆ นี้ ก็คือการแตกธุรกิจต่างๆ ออกเป็นบริษัทย่อย โดยกลุ่มที่เป็น New Growth อาทิ
– Alpha X : ธุรกิปล่อยสินเชื่อให้กับเจ้าของรถหรู
– Card X : ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต
– SCB 10X : กองทุน Venture Capital
– SCB ABACUS : ธุรกิจปล่อยสินเชื่อออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยี AI
– Purple Ventures : ธุรกิจส่งอาหาร Robinhood
– Tech X : ธุรกิจเทคโนโลยีที่ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก
– Token X : ธุรกิจที่ดูแลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
– Data X : ธุรกิจข้อมูลดิจิทัล
ทั้งนี้ แต่ละบริษัทมีแผนที่จะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า
..
มูลค่าบริษัทแตะ 1 ล้านล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ถ้าทำสำเร็จตามแผนที่วางไว้ จะทำให้ SCBX มีกำไรเพิ่มขึ้น 1.5-2 เท่า และมี Market Cap. จำนวน 1 ล้านล้านบาท ภายใน 5 ปี
ปัจจุบันหุ้น SCB มี Market Cap. อยู่ที่ระดับ 3.65 แสนล้านบาท
..
รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ SCB ในปัจจุบัน
– พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 793,832,359 หุ้น สัดส่วน 23.38%
– กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 392,649,100 หุ้น สัดส่วน 11.56%
– กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวน 392,649,100 หุ้น สัดส่วน 11.56%
– บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวน 302,576,271 หุ้น สัดส่วน 8.91%
– SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวน 130,626,835 หุ้น สัดส่วน 3.85%
..
ผลประกอบการ SCB ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง
– ปี 2561 รายได้ 168,620 ล้านบาท, กำไร 40,067 ล้านบาท
– ปี 2562 รายได้ 174,900 ล้านบาท, กำไร 40,436 ล้านบาท
– ปี 2563 รายได้ 165,987 ล้านบาท, กำไร 27,217 ล้านบาท
ทำความรู้จักหุ้น SCB แบบครบทุกมิติ คลิกเลย
ติดตามบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk