สรุปสัมมนา ครบเครื่องเรื่องกองทุนรวม สร้างพอร์ต – จัดพอร์ต – แก้พอร์ต อย่างไรดี ?
สร้างพอร์ต – จัดพอร์ต – แก้พอร์ต อย่างไรดี ?
ใครที่เพิ่งเริ่มสร้างพอร์ตลงทุน กำลังจัดพอร์ตให้เหมาะกับตัวเอง หรือแม้กระทั่งต้องการคำแนะนำแก้พอร์ตให้รอดจากดอย
วันนี้ FinSpace ได้สรุปไฮท์ไลท์สำคัญ จาก Live สัมมนากองทุนรวมออนไลน์ โดย Thai Mutualfund : ให้เงินทำงาน ผ่านกองทุนรวม มาฝาก
ที่จะมาตอบคำถามเรื่องกองทุนรวมแบบครบถ้วน ซึ่งเราย่อยมาให้แล้วแบบสั้นๆ อ่านปุ๊บ นำไปใช้ได้ปั๊บ !
ย้อนชมสัมมนาเวอร์ชันเต็มได้ที่ https://bit.ly/2ZRVOap
Live & Learn บทเรียนจาก COVID-19
โดย วิน พรหมแพทย์ บลจ. พรินซิเพิล
สรุปคำแนะนำ 3 ข้อ ควรทำยังไงดี เมื่อเจอวิกฤต
1. อย่าตกใจ ลงทุนต่อไป และกระจายความเสี่ยง
หากหยุดลงทุนในช่วงตลาดลงแรง ก็จะพลาดโอกาสทำกำไรช่วงตลาดกลับเป็นขาขึ้น
อย่าง 3 เดือนแรกที่เกิด COVID-19 หุ้นไทยตกไปกว่า 35% ถ้าวันนั้นเราตกใจกลัวแล้วขายหุ้นทิ้ง แปลว่าพอร์ตคงขาดทุนมากมาย แต่ถ้ายังลงทุนต่อไปก็จะเห็นว่าตลาดค่อยๆ ฟื้นกลับมา และไม่ได้ลบหนักขนาดนั้นแล้ว
แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย กระจายความเสี่ยงควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความผันผวน
2. ช่วงที่คนตกใจกลัวสุดขีด คือจังหวะการซื้อของเรา
เมื่อเกิด Extreme Fear หรือ คนตกใจกลัวมากๆ มักจะพาพร้อมกับการลงแรงของตลาดหุ้น หมายความว่าหากเราเข้าลงทุนในตอนนั้นอย่างเข้าใจ ก็หมายถึงโอกาสทำกำไรมหาศาล
3. วิกฤติทุกครั้ง มีผู้ชนะเสมอ
บทเรียนจาก COVID-19 เราเห็นแล้วว่ามีหุ้นไทยหลายตัวที่รอด แถมโตดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ เช่น กลุ่มสาธารณูปโภคอย่าง TTW และ RATCH หรืออย่าง TQM ที่ทำธุรกิจประกันภัย
5 เทคนิคต้องรู้ เมื่อเริ่มสร้างพอร์ตกองทุน
โดย น.สพ. ธนัฐ ศิริวรางกูร เพจคลินิกกองทุน
พอร์ตลงทุน คือ การที่เรานำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายแตกต่างกัน แล้วถ้าจะอยากเริ่มสร้างพอร์ตเป็นของตัวเอง นี่คือเทคนิค 5 ข้อที่ควรรู้
1. Stay Invest ลงทุนให้ยาวพอ
ความผันผวนเป็นเรื่องปกติ เป็นของที่คู่กับการลงทุนตลอดเวลา ดังนั้น จึงต้องลงทุนให้ยาวและอดทนลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อรอโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีเมื่อตลาดกลับมา
2. Stay Diversify กระจายความเสี่ยงให้มากพอ
เราลดความเสี่ยงได้ ด้วยการกระจายการลงทุน พอร์ตที่ดีควรมีหลากหลายสินทรัพย์ ทั้งกองทุนหุ้น ตราสารหนี้ ตลาดเงิน รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ เช่น อสังหาฯ ทองคำ และการลงทุนในต่างประเทศ
3. Stay Cash เงินสดสำคัญ
มีเงินเท่าไหร่อย่าทุ่มกับการลงทุนหมด เผื่อเงินสดไว้บ้าง เอาไว้ช่วยเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน และเรายังสามารถใช้เงินสดเพิ่มผลตอบแทนได้ด้วยวิธี DCA + Market Timing คือ ลงทุนไปเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอตามแผน แต่เมื่อเห็นว่าตลาดปรับลงมาก ก็ค่อยใช้เงินที่มีเพิ่มจำนวนหน่วยลงทุนเข้าไปนั่นเอง
4. Stay Quality คัดสรรสินทรัพย์คุณภาพ
สินทรัพย์คุณภาพ เมื่อจังหวะที่เกิดวิกฤต ก็ไม่ผันผวนมาก ยังสร้างผลตอบแทนที่ดีอยู่ ดังนั้น พอร์ตที่ดีเราต้องมองหาสินทรัพย์นั้นให้เจอ
5. Stay Simple ลงทุนพอดี ไม่เยอะเกินไป
จริงๆ การลงทุนควรทำให้ง่ายที่สุด โดยเลือกแค่สินทรัพย์ที่เราเข้าใจดีพอ และไม่ต้องเยอะจนดูแลไม่ไหว เอาแค่พอดีๆ เหมาะกับตัวเอง
คัด Rare Item กองทุนแกร่งสู้วิกฤต
โดย วศิน วณิชย์วรนันต์ บลจ.กสิกรไทย
การลงทุน คือการซื้ออนาคต เพราะฉะนั้นเมื่อมองไปข้างหน้าก็จะพบว่าเรามี 3 มิติที่ขาดไม่ได้ คือ
1. สร้างผลตอบแทน พร้อมสร้างสิ่งดีๆ ให้โลก
ธุรกิจที่ดีในอนาคต จะต้องทำให้ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ และเติบโตไปพร้อมๆ กัน
Rare item แนะนำ : K-CHANGE
กองทุนหุ้นที่ลงทุนในบริษัทที่มีอัตราเติบโตสูงทั่วโลก เน้นให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืน ผ่านการลงทุนใน 4 ธีมหลัก คือ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และผู้ด้อยโอกาส
2. การเติบโตของจีน
ปฎิเสธไม่ได้ว่าโอกาสการเติบโตของจีนต้องมาแน่ๆ และมีโอกาสที่จะขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งด้านเศรษฐกิจของโลกในเร็วๆ นี้
Rare item แนะนำ : K-CCTV
กองทุนหุ้นจีนที่มีความสม่ำเสมอและผันผวนต่ำกว่ากองทุนอื่นที่ลงทุนในหุ้นจีน A Share 100%
เพราะ K-CCTV เป็น Fund of Fund โดยแบ่งสัดส่วนลงทุนผ่าน UBS China A Opportunity ประมาณ 75% ซึ่งเป็นหุ้นจีนเบอร์ใหญ่แค่ 20 – 30 บริษัท ส่วนที่เหลืออีก 25% ลงในกองทุน Schroder China A ที่เป็นหุ้นจีนขนาดกลาง-เล็ก
3. ของดีในประเทศ
การแบ่งมาลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพในประเทศ จะช่วยให้เราไม่ต้องกังวลมากเรื่องความผันผวน และอัตราแลกเปลี่ยน
Rare item แนะนำ : K-STAR
กองทุนที่เน้นลงทุนหุ้นที่มีศักยภาพเติบโต โดยใช้กลยุทธ์ Defensive เป็นหลัก ความผันผวนไม่ได้มาก เหมาะเก็บไว้เสริมแกร่งให้พอร์ต
กองทุนไหนดี Rare Item กองทุนเด่น ในยุคเศรษฐกิจใหม่
โดย พจน์ หะริณสุต บลจ. วรรณ
ทุก 10 ปีมีวิกฤต เราไม่ได้มองหากองทุนที่รอด แต่มองหากองที่กลับมาฟื้นตัวได้เร็ว และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้มากกว่า ซึ่ง 2 ธีมที่ไม่มองไม่ได้ในเวลานี้ ก็คือ
1. ธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์ New Normal
แนะนำ : ONE-UGG
กองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในกองหลัก LTGG ด้วย 3 คอนเซ็ปต์หลัก ลงทุนระยะยาว ลงทุนหุ้นทั่วโลก และลงทุนหุ้นเติบโต ซึ่งจะเห็นว่าสัดส่วนพอร์ตเต็มไปด้วยกลุ่มเทคโนโลยี ธุรกิจออนไลน์ที่โตได้ดีในช่วง COVID-19 เช่น AMAZON, ALIBABA, NETFLIX, TENCENT
2. ลงทุนในจีนได้หลากหลายตลาด พร้อมได้สิทธิลดหย่อนภาษี
แนะนำ : ONE-ALLCHINA-SSF
ลงทุนในบริษัทจีนที่จดทะเบียนอยู่ทั่วโลก จึงมีความยืดหยุ่นสูง ลงทุนได้หลากหลายตลาด ซึ่ง ONE-ALLCHINA ถูกนำมาทำเป็น SSF ด้วย ทำให้ได้สิทธิลดหย่อนภาษีอีกทาง
กองทุนตราสารหนี้ น่ากลัวหรือน่าเก็บ
โดย ชยนนท์ รักกาญจนันท์ Mr. Messenger
ยังไงกองทุนรวมตราสารหนี้ก็จำเป็นต้องมีติดพอร์ตไว้ ด้วยหลากหลายเหตุผลของภาพรวมตลาดในตอนนี้ ได้แก่
1. กิจกรรมทางเศรษฐกิจอาจต้องใช้เวลากว่าจะฟื้นตัวสู่จุดเดิม
2. Valuation ตลาดหุ้นยังค่อนข้างแพงอยู่
3. เพื่อทำ Asset Allocation กระจายความเสี่ยงให้พอร์ตลงทุน
กองทุนหุ้น Active Fund น่าสนใจหรือยัง ?
โดย ธีรนาถ รุจิเมธาภาส บลจ.ทิสโก้
เมื่อมองเจาะลงไปในรายตัว ในยามวิกฤตมักเกิดโอกาสเสมอ การทำ Stock Selection ผ่าน Active Fund จึงเหมาะตลาดช่วงนี้ ด้วยเหตุผล 3 ประการ
1. มี Fund Manager คอยคัดเลือกหุ้นดีๆ ที่ชนะวิกฤตให้ผู้ลงทุน
2. มีการให้น้ำหนักการลงทุน เลือกบริษัทที่ดี ตัดบริษัทที่แย่
3. มีคนคอยติดตามสถานการณ์ ปรับสัดส่วนพอร์ตได้ทันท่วงที
แนะนำ 4 ธีมเด่นน่าลงทุน
หุ้นไทย : TSF
กองทุนหุ้นไทยที่เน้นบริษัทพื้นฐานดี ซึ่งสถิติที่ผ่านมาสามารถชนะ SET TRI ได้ทุกช่วงเวลา ด้วยกลยุทธ์ให้น้ำหนักในหุ้นที่ชอบเพียง 10 – 15 ตัวเท่านั้น
เฮลธ์แคร์ : TBIOTECH
กองทุนหุ้นกลุ่ม Health Care ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการค้นพบนวัตกรรมยารักษาโรค และเป็น New Normal ที่สามารถโตได้อีกมาก
เทคโนโลยี : TISTECH
กองทุนหุ้นเทคโนโลยี ที่เน้นลงทุนใน 2 กลุ่มอย่าง China Tech เช่น ALIBABA และ Large cap เช่น AMAZON, ALPHABET, FACEBOOK ซึ่งสามารถพาผู้ลงทุนพ้นความผันผวนได้ดี
วิถี New Normal : TCLOUD
กองทุนหุ้นที่เน้นในกลุ่มธุรกิจ Cloud Computing และ Data Center ซึ่งเป็นเทรนด์เติบโตในอนาคต มีบริษัทชั้นนำ เช่น ZOOM, Shopify, paycom เป็นต้น
ปรับพอร์ตไม่ทัน ทำยังไงดี ?
วิโรจน์ ตั้งเจริญ บลจ.กรุงไทย
ต้องเข้าใจก่อนว่าการดูแลพอร์ตช่วงวิกฤตจะต่างกับช่วงปกติ เพราะเราต้องทำการบ้านหนักขึ้น โฟกัสมากขึ้น ว่าพอร์ตของเราประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
แล้วค่อยมาคัดเลือกสินทรัพย์ในพอร์ต โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน
1. มีความทนทานต่ำ > ตัดออกได้เลย
2. มีความทนทานสูง > ปรับสัดส่วนลงทุน
แต่สิ่งสำคัญคือต้องจัดการกับความรู้สึกให้ดีๆ โดยเฉพาะช่วงขาลง อย่าให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
————-
ดร.วิน อุดมรัชตวนิชณ์ บล.เคทีบี
– คีย์หลักที่ต้องหาให้เจอเวลาปรับพอร์ต คือ ต้องรู้ว่าตัวเองมีอะไรในมือ
– หา Winner ให้เจอ แล้วคัด Loser ออกไป และต้องเข้าใจบริษทที่เปลี่ยนไปด้วย บางตัวเคยเป็น Winner วันนี้ อาจจะกลายเป็น Loser แล้วก็ได้ รู้ตัวเองว่ามีอะไรในมือ
หา Winner ให้เจอ แล้วตัด Loser ออกไป
– อย่ายึดติด เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน Winner อาจกลายเป็น Loser
————-
เสกสรร โตวิวัฒน์ บลจ.บัวหลวง
สิ่งที่อยากจะแนะนำ คือ เราควรหาเกราะป้องกันพอร์ตตัวเองให้ดีก่อนเกิดวิกฤต โดยจัดพอร์ตให้สะท้อนกับความเสี่ยงและเป้าหมายอย่างเหมาะสม เมื่อวิกฤตมาแม้เราจะปรับพอร์ตไม่ทัน ก็ยังไม่เสียหายมากในระยะยาว
นอกจากนี้ อย่าลืมมองภาพรวมใหญ่ว่า Sector ไหนที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัว ซึ่งในวิกฤตรอบนี้ คงหนีไม่พ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการอัดฉีดของภาครัฐ เพื่อจะได้โฟกัสไปที่หุ้นกลุ่มนั้น
เครื่องมือช่วยจัดพอร์ตลงทุน
รีวิว Fund App และ Robo Advisor
โดย ศิรัถยา อิศรภักดี เพจ Wealth Me Up
ถึงบรรทัดนี้ ใครกำลังมองหา App ซื้อขายกองทุนรวม ลองมาดูข้อมูลสรุปเปรียบเทียบง่ายๆ แล้วเลือกให้เหมาะกับตัวเองได้เลย
รับชมคลิปสัมมนากองทุนรวม ย้อนหลังแบบเต็มๆ ได้ที่ >> https://bit.ly/2ZRVOap
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
อ่านอะไรต่อดี…