สรุปข้อแตกต่างใหม่ เงื่อนไขลดหย่อนภาษี ปี 67 (กองทุน Thai ESG, SSF และ RMF)
เริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาของการวางแผนภาษีในปีนี้กันแล้ว มีใครเริ่มวางแผนกันแล้วหรือยังครับ ? ถ้ายัง มาเตรียมตัวให้พร้อมแต่เนิ่น ๆ เพื่อการลดหย่อนภาษีที่มีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากศึกษาข้อมูลสิทธิประโยชน์ทางภาษี ว่ามีเงื่อนไขอย่างไร ซื้อได้เท่าไหร่ ลดหย่อนปีไหน และมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ?
โดยเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุน Thai ESG, SSF และ RMF แล้ว กองทุนไหนจะเหมาะกับเป้าหมายทางการเงินของเรามากกว่ากัน ถ้าอยากรู้ ไปดูกันเลยครับ
เงื่อนไข กองทุน Thai ESG, SSF และ RMF
นโยบายการลงทุน
- Thai ESG – กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนลงทุนหุ้นและตราสารหนี้ในไทยที่เข้าเกณฑ์ ESG
- SSF – กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว ลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ
- RMF – กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
- Thai ESG – ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปื ไม่เกิน 300,000 บาท (จากเดิม 100,000 บาท)
- SSF – ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปื ไม่เกิน 200,000 บาท (เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
- RMF – ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปื ไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ)
ระยะเวลาถือครอง
- Thai ESG – 5 ปี นับจากวันที่ซื้อ (จากเดิม 8 ปี)
- SSF – 10 ปืนับจากวันที่ซื้อ
- RMF – ไม่น้อยกว่า 5 ปี และขายคืนได้เมื่ออายุ 55 ปี
เงื่อนไขการซื้อ
- ◾Thai ESG ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
- ◾SSF ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
- ◾RMF ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี
ปีที่สามารถใช้สิทธิ์
- Thai ESG – ปี 2567-2569 โดยเป็นมาตรการ 3 ปี ประเมินผลหลังสิ้นสุดมาตรการ (เดิมปี 2566 – 2575)
- SSF – ปี 2563-2567
- RMF – ปี 2544-ปัจจุบัน
เหมาะกับใคร
- Thai ESG – เป้าหมายลงทุนระยะยาวเห็นโอกาสเติบโตในหุ้นยั่งยืนและต้องการวงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม
- SSF – เป้าหมายลงทุนระยะยาว 10 ปีขึ้นไป พร้อมทั้งลดหย่อนภาษีได้
- RMF – เป้าหมายเพื่อวางแผนเกษียณ พร้อมทั้งลดหย่อนภาษีได้
จากรูปจะเห็นว่ากองทุน Thai ESG ไม่ถูกนับรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ อย่าง กองทุน SSF, RMF, PVD, กบข., กอช., กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และเบี้ยประกันบำนาญ ที่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ทำให้เมื่อนับรวมกันทั้ง Thai ESG, SSF, RMF และกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ปีนี้สามารถลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 800,000 บาทครับ
*เงื่อนไขภาษีเป็นไปตามประกาศกรมสรรพากรกำหนด
ติดตาม #FinSpace เพิ่มเติมได้ที่
Instagram : https://bit.ly/3N3Yc5X
TikTok : https://bit.ly/3pAovpq
Twitter (x) : https://bit.ly/3Cp68Ll
Blockdit : https://bit.ly/3VM3HJrWebsite : http://bit.ly/2lxvlhY