เลือกเปลี่ยนภาษีเป็นเงินเกษียณ กับ RMF กองทุนเด็ด ธีมลงทุนต่างประเทศ จาก บลจ.กรุงศรี
วางแผนลดหย่อนภาษีด้วย ttb smart port SSF ลงทุนง่าย มีโอกาสรับผลตอบแทนดี พร้อมลดหย่อนภาษีไปในตัว
ใกล้จะถึงสิ้นปี 2022 แล้ว เป็นช่วงที่หลาย ๆ คนเริ่มหาสิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อให้เสียภาษีน้อยที่สุด
ตัวเลือกหนึ่งที่ให้ประโยชน์เราได้ถึง 2 ต่ออย่างกองทุน SSF นับเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมจากพวกเราทุกคนที่เสียภาษี โดยเฉพาะมือใหม่ ที่ยังสับสนเลือกลงทุนไม่ถูก
สำหรับใครที่กำลังวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนดังกล่าว วันนี้ เรามีเทคนิคง่าย ๆ ในการวางแผนลดหย่อนภาษี พร้อมแนะนำกองทุน สำหรับมนุษย์เงินเดือนมาฝากกัน
จำแนกรายการต่าง ๆ ก่อนวางแผนลดหย่อนภาษี
ในการวางแผนลดหย่อนภาษี สิ่งแรกที่เราควรคำนึงถึง คือการจำแนกรายการที่ใช้ในการยื่นภาษี ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1.ประเภทของรายได้
ขั้นแรก เราจะต้องแยกประเภทของรายได้ที่เราได้รับ ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด
2.ค่าใช้จ่ายที่หักภาษีได้ ตามกฎหมายกำหนด
หลังจากที่เช็คเงินได้แล้ว จะต้องเช็คค่าใช้จ่าย และเงื่อนไขในการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งปกติจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท
3.เงินลดหย่อน
นอกจาก 2 รายการข้างต้นแล้ว อีกรายการที่ควรเช็ค เพื่อให้วางแผนลดหย่อนภาษีได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น คือ เช็คเงินลดหย่อนที่มีอยู่ทั้งหมด ว่ามีเท่าไหร่
เพื่อให้เพื่อน ๆ เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างจากมนุษย์เงินเดือนท่านหนึ่ง ที่มีรายได้ต่อปี 360,000 บาท หากไม่ได้วางแผนลดหย่อนภาษีอื่น ๆ เลย โดยปกติแล้วจะมีสิทธิในการหักลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และประกันสังคม 7,200 บาท สามารถนำมาลดหย่อนได้
จากกรณีนี้ เราสามารถจำแนกรายการต่าง ๆ ได้เป็น
– รายได้ทั้งปีจากเงินเดือน 360,000 บาท
– ค่าใช้จ่ายที่นำไปหักจากเงินได้ 100,000 บาท
– เงินลดหย่อน ทั้งลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และประกันสังคม 7,200 บาท
2 Step วางแผนซื้อ SSF
หลังจากที่เราจำแนกรายการต่าง ๆ สำหรับยื่นภาษีแล้ว สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังจะวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF เรามีเทคนิค 2 ขั้นตอนง่าย ๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้ คือ
1.คำนวณเงินได้สุทธิ
หลังจากที่เราจำแนกรายได้แล้ว เราสามารถนำรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนมาคำนวณ โดยสามารถคำนวณได้จากสูตร
“เงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ”
โดยหากเป็นมนุษย์เงินเดือนท่านนี้ จะได้เงินได้สุทธิ 192,800 บาท
2.คำนวณเงินลดหย่อนที่สามารถใช้ได้
หลังจากที่เราคำนวณเงินได้สุทธิแล้ว ต่อมา ให้เรานำตัวเลขดังกล่าว หักออกด้วยเงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น คือ 150,000 บาท โดยสามารถคำนวณได้จาก
“ เงินลดหย่อน = เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้น ”
ซึ่งจะได้เงินลดหย่อนที่ใช้ในการวางแผนซื้อกองทุน SSF
จากตัวอย่างของมนุษย์เงินเดือนท่านนี้ มียอดเงินที่สามารถลดหย่อนได้เป็นจำนวน 42,800 บาท ซึ่งเป็นยอดที่เราสามารถใช้ลดหย่อนได้
เลือกกองทุน SSF ที่ใช่ ตอบโจทย์ทุกความเสี่ยงที่รับได้ด้วย ttb smart port
ถึงแม้ว่ากองทุน SSF ช่วยให้เราเสียภาษีได้น้อยลง และเป็นการบังคับให้เราลงทุนระยะยาวไปในตัว แต่สิ่งหนึ่งที่เพื่อน ๆ ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน คือ การเลือกกองทุน ไม่ใช่เพียงต้องการลดหย่อนภาษีแล้วเราจะเลือกลงทุนในกองทุนไหนก็ได้ โดยกองทุนที่เราจะเลือกซื้อต้องมีความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเรา ซึ่งแต่ละคนสามารถรับความเสี่ยงได้แตกต่างกันไป นอกจากนี้ ต้องเป็นกองทุนที่มีโอกาสที่จะทำให้เราได้รับผลตอบแทนที่ในอนาคตด้วย
และสำหรับใครที่กำลังมองหากองทุนที่ใช่ เหมาะกับความเสี่ยงที่เรารับได้ FinSpace ขอแนะนำttb smart port (SSF) ที่มีกองทุนสำเร็จรูปเลือกลงทุนถึง 5 รูปแบบ ให้เราสามารถเลือกลงทุนได้เอง ตามความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเรา นอกจากนี้ ทุกโมเดลจะผู้มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการลงทุนอย่าง Amundi และ Eastspring ที่จะคอยปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือน โดยที่เราไม่ต้องคอยปวดหัว เหมาะมาก ๆสำหรับนักลงทุนมือใหม่ หรือใครที่กำลังมองการการลงทุนแบบสบายใจ แถมยังทำให้เรามีโอกาสรับผลตอบที่ดีในระยะยาวอีกด้วย
สำหรับโมเดลกองทุน ttb smart port (SSF) มี 5 แผน ให้เลือกลงทุน ดังนี้
1.tsp 1 – preserver SSF
เหมาะสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ เน้นรักษาเงินต้น และต้องการผลตอบแทนมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
2.tsp 2 – nurturer SSF
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ รับความผันผวนได้น้อย
3.tsp 3 – balancer SSF
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ พร้อมมีเป้าหมายให้เงินทำงานระยะยาว
4.tsp 4 – explorer SSF
เหมาะสำหรับคนที่เน้นลงทุนเพื่อให้เงินเติบโต พร้อมโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น สามารถรับความผันผวนได้
5.tsp 5 – gogetter SSF
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้างโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก รับความผันผวนได้สูง
ตั้งเป้าหมายลงทุนแบบง่าย ๆ ผ่าน ttb calculator
ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับใครที่ต้องการตั้งเป้าหมายการลงทุน ttb ยังมีเครื่องมือที่ช่วยให้เราวางแผนการลงทุนแบบง่าย ๆ ที่เรียกว่า ttb calculator ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้เราวางแผนการลงทุนในอนาคตของเราได้ง่ายขึ้นไปอีก เช่น อีก 10 ปี เราต้องการจะเก็บเงินเท่าไหร่ ระบบจะคำนวณมาให้ว่าต่อเดือนเราต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ ต้องลงทุนตั้งต้นเท่าไหร่ แล้วต้องเลือกลงทุนแบบไหน โดยวิธีการใช้งานก็ไม่ยาก ทำตามได้ใน 5 ขั้นตอน ตามนี้เลย
1.ตั้งเป้าหมาย เช่น ต้องการเกษียณ เรียนต่อ เป็นต้น
2.ใส่จำนวนเงินที่ต้องการใช้สำหรับเป้าหมายในอนาคต
3.กำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้เงิน
4.เลือกระดับความเสี่ยงการลงทุนที่เราสามารถรับได้
5.เลือก ”มาดูแผนที่เป็นไปได้กัน” ระบบก็จะแสดงแผนลงทุนใน ttb smart port ที่เหมาะสมให้เราเลือก
หากเพื่อน ๆ ต้องการวางแผนเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิต สามารถไปตั้งได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal
พิเศษ ! เมื่อซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุน RMF/SSF ที่เข้าร่วมโปรโมชัน หรือโอนกองทุน LTFจาก บลจ. อื่นเข้ากองทุน LTF ของ บลจ. 5 แห่งที่เข้าร่วมโปรโมชัน ทุก ๆ 50,000 บาท ของการลงทุนในแต่ละ บลจ. (ตาม บลจ.ที่ได้ลงทุน) รับเงินลงทุนเพิ่ม ในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 65 – 30 ธ.ค. 65
ใครที่สนใจต้องการลงทุนใน SSF นอกจากโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนดี และการลดหย่อนภาษีแล้ว ยังได้รับโปรโมชันเพิ่มเติมอีก สามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/rmf-ssf-2022
สามารถลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่านแอป ttb touch
ปรึกษาเรื่องการลงทุน ผ่าน ttb investment line โทร. 1428 กด #4
ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 น. – 17.30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร) หรือ ที่ ทีทีบี ทุกสาขา
ติดตามบทความอื่น ๆ อีกมากมายได้ที่ www.finspace.co
ติดตามเรื่องราวการเงินที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณก่อนใครได้ที่
Facebook : FinSpace
LINE Official : http://bit.ly/2qL8S48
Twitter : http://bit.ly/2keFfVD
Instagram : http://bit.ly/2ktv2o7
Blockdit : https://bit.ly/37EWqmb
กลุ่มความรู้นักลงทุน: http://bit.ly/3clAwZ2
กลุ่มพัฒนาตัวเอง: http://bit.ly/3ejPXnk
กลุ่มคริปโต บิทคอยน์ NFT: https://bit.ly/3J8LS1W